ห้องเรียนคุณภาพรายวิชาภาษาอังกฤษ
ครูพัชรินทร์ กันวะนา
หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2545 มาตรา 34 กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ฉะนั้นครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือส่งเสริม
และสนับสนุนผู้เรียน สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ ให้มีการเปลี่ยนแปลง สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในโรงเรียน
และสามารถค้นหาวิธีปฏิบัติที่ประสบสำเร็จเป็นเลิศ
และได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ
ในระดับปฏิบัติ คือระดับห้องเรียน ซึ่งห้องเรียนคุณภาพ( Quality Classroom )เป็นแนวทางหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพ พอสรุปได้ดังนี้
1) พัฒนาตนเองเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียน
2) ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
3) ใช้สื่อ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน
4) วิจัยในชั้นเรียน (CAR) : ให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียนหรือเนื้อหาวิชา
เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
5) สร้างวินัยเชิงบวก
: เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หรือคุณลักษณะ
ด้วยกระบวนการเสริมแรงเชิงบวก
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1. เพื่อพัฒนาตนเองเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. เพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและออกแบบการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ
3. ใช้สื่อ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน
4. เพื่อทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน CAR1, CAR2, CAR3, CAR4
5. เพื่อสร้างวินัยเชิงบวก
5. เพื่อสร้างวินัยเชิงบวก
กระบวนการผลิตผลงาน
หรือขั้นตอนการดำเนินงาน หรือวิธีดำเนินการวิจัย
1.
ขั้นวางแผน (Plan)
1.1
วางแผนการทำงานของตนเอง (ID
Plan)
1.2
ครูศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมจาก TEPE Online และอื่น ๆ
1.3
ศึกษาวิเคราะห์หลักการ
จุดมุ่งหมาย โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.2551
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
1.4
จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยนำสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด มาเขียน
เป็นคำอธิบายรายวิชา จัดทำหน่วยการเรียนรู้
จากนั้นนำสาระการเรียนรู้มาวิเคราะห์แยกเป็นหัวข้อทำการวิเคราะห์หลักสูตร
1.5
รวบรวมแนวข้อสอบ O-Net สำรวจความต้องการของท้องถิ่น สำรวจแหล่งเรียนรู้
ในท้องถิ่น ออกแบบสอบถามพฤติกรรมของผู้เรียน
1.6
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ โดยนำหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรสถานศึกษา แนวข้อสอบ O-Net วิเคราะห์ลงสู่แผนการจัดการเรียนรู้ที่เพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของท้องถิ่น
1.7
สำรวจความพร้อมของสื่อ และจัดเตรียมสื่อการสอน
วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องเรียน
คุณภาพครูพัชรินทร์ กันวะนา เช่น คอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์
โต๊ะ เก้าอี้ มุมแหล่งเรียนรู้
สื่อออนไลน์ แบบฝีก เป็นต้น
1.8
วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อจำแนกศักยภาพของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคล ประสบการณ์พื้นฐานความรู้เดิม
และวิธีการเรียนรู้ โดยจัดทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
: การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (CAR1) เรื่อง
การวิเคราะห์ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 ปีการศึกษา 2558
1.9
จากนั้นนำแผนการจัดการเรียนรู้
ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์แล้วนำมา
ปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ
นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้จริง
2.
ขั้นดำเนินการ
(Do)
2.1
จัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT
ช่วยสอนตามแนววิธีสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นทักษะ
กระบวนการทางภาษา กระบวนการกลุ่ม และกระบวนการคิด เช่น สื่อออนไลน์
สื่อDLIT สื่อในยูทูป สื่อที่ครูผลิตด้วยโปรแกรม Power Point เพื่อสร้างความสนใจให้ผู้เรียนให้พร้อม
2.2
มีระเบียบการใช้ห้องเรียนเพื่อควบคุมการจัดกิจกรรมในห้องเรียน
มีเกณฑ์การให้
คะแนนที่ชัดเจน โดยทั้งครูและนักเรียนร่วมกันหาคิดหาข้อตกลงการใช้ห้องเรียน
2.3
จัดทำวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อจำแนกศักยภาพของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล ประสบการณ์พื้นฐานความรู้เดิม
และวิธีการเรียนรู้ โดยจัดทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
: การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (CAR1) การวิเคราะห์ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 ประเมินความรู้ก่อนเรียนและจัดกลุ่มเด็ก ได้แก่
เด็กเก่ง ปกติ อ่อน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนให้เด็กปกติ สำหรับเด็กเก่งมีการเสริมทักษะด้วยใบความรู้
ใบงานเพิ่มเติม ส่วนเด็กอ่อนได้จัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนโดยให้เด็กเก่งช่วยสอนเด็กอ่อน
และมีคะแนนพิเศษให้เด็กเก่ง เป็นการสร้างวินัยเชิงบวกให้ผู้เรียนโดยใช้คะแนน
ความเอื้ออารี ช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้นเรียน
2.4
สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้
บันทึกเก็บข้อมูล
เพื่อจัดทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน : การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
(CAR2)
3.
ขั้นตรวจสอบ
(Check)
3.1
วัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ได้นำเครื่องมือวัด มีการทดสอบสอบหลังเรียน
เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและมีการประเมินผลระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกหัด การฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน
เขียนภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินด้วยการเปลี่ยนกันตรวจกับเพื่อน
หรือประเมินการทำงานร่วมกันทั้งครู ผู้เรียน และผู้ปกครอง ให้คำแนะนำการทำกิจกรรม
หากผู้เรียนมีปัญหา ได้แนะนำและแก้ไขปัญหาโดยการให้เพื่อนช่วยเพื่อน หรือนำสื่อซีดี ใบงาน ใบความรู้ แบบฝึกหัดที่ผู้สอนจัดทำขึ้นให้ผู้เรียนไปศึกษาที่บ้านเพิ่มเติม
3.2
จัดทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
: กรณีศึกษาผู้เรียน (CAR3) เรื่อง
ปัญหาการเรียนรู้
ช้าของผู้เรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 4
4.
ขั้นสรุปผล (Action)
4.1
ทำการบันทึกผลการเรียนรู้หลังเรียนทุกหน่วยการเรียนรู้เพื่อเตรียมปรับปรุง แก้ไขปัญหา
ในครั้งหน้า
4.2
สรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายภาคให้ผู้บังคับบัญชาทราบและแนะนำแนว
ทางการแก้ปัญหาต่อไป โดยการจัดทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
: การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
(CAR2
4.3
หลังจากนั้นนำปัญหาจากเรียนการสอนมาจัดทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน :
การ
พัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ (CAR4) เรื่องผลการใช้ชุดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง Oral
Expression