Thursday, December 15, 2016

ห้องเรียนคุณภาพ

ห้องเรียนคุณภาพรายวิชาภาษาอังกฤษ

ครูพัชรินทร์  กันวะนา

หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2542  แก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2545 มาตรา 34  กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  ฉะนั้นครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ชี้นำ  ผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือส่งเสริม และสนับสนุนผู้เรียน สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ ให้มีการเปลี่ยนแปลง สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในโรงเรียน และสามารถค้นหาวิธีปฏิบัติที่ประสบสำเร็จเป็นเลิศ  และได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ ในระดับปฏิบัติ คือระดับห้องเรียน ซึ่งห้องเรียนคุณภาพ( Quality  Classroom )เป็นแนวทางหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพ พอสรุปได้ดังนี้ 
1) พัฒนาตนเองเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลสู่ห้องเรียน 
2) ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน 
3) ใช้สื่อ  ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน 
4) วิจัยในชั้นเรียน (CAR) : ให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียนหรือเนื้อหาวิชา เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง  
5) สร้างวินัยเชิงบวก : เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หรือคุณลักษณะ ด้วยกระบวนการเสริมแรงเชิงบวก


วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1.  เพื่อพัฒนาตนเองเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.  เพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและออกแบบการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ   
3.  ใช้สื่อ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน 
4.  เพื่อทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน CAR1, CAR2, CAR3, CAR4
5.  เพื่อสร้างวินัยเชิงบวก

กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน  หรือวิธีดำเนินการวิจัย
1.       ขั้นวางแผน (Plan) 
1.1         วางแผนการทำงานของตนเอง (ID Plan)
1.2   ครูศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมจาก TEPE Online และอื่น ๆ
1.3   ศึกษาวิเคราะห์หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.2551 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
1.4   จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยนำสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด มาเขียน
เป็นคำอธิบายรายวิชา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จากนั้นนำสาระการเรียนรู้มาวิเคราะห์แยกเป็นหัวข้อทำการวิเคราะห์หลักสูตร
1.5   รวบรวมแนวข้อสอบ O-Net สำรวจความต้องการของท้องถิ่น  สำรวจแหล่งเรียนรู้
ในท้องถิ่น ออกแบบสอบถามพฤติกรรมของผู้เรียน
1.6   จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ โดยนำหลักสูตรแกนกลาง  หลักสูตรสถานศึกษา แนวข้อสอบ O-Net วิเคราะห์ลงสู่แผนการจัดการเรียนรู้ที่เพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของท้องถิ่น
1.7   สำรวจความพร้อมของสื่อ และจัดเตรียมสื่อการสอน วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องเรียน
คุณภาพครูพัชรินทร์  กันวะนา เช่น คอมพิวเตอร์  โปรเจคเตอร์  โต๊ะ เก้าอี้ มุมแหล่งเรียนรู้           สื่อออนไลน์  แบบฝีก เป็นต้น
1.8   วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อจำแนกศักยภาพของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคล ประสบการณ์พื้นฐานความรู้เดิม และวิธีการเรียนรู้ โดยจัดทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน : การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (CAR1) เรื่อง การวิเคราะห์ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558
1.9   จากนั้นนำแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์แล้วนำมา
ปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้จริง

2.       ขั้นดำเนินการ  (Do) 
2.1   จัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT ช่วยสอนตามแนววิธีสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นทักษะ
กระบวนการทางภาษา กระบวนการกลุ่ม และกระบวนการคิด เช่น  สื่อออนไลน์  สื่อDLIT สื่อในยูทูป สื่อที่ครูผลิตด้วยโปรแกรม Power Point  เพื่อสร้างความสนใจให้ผู้เรียนให้พร้อม
2.2   มีระเบียบการใช้ห้องเรียนเพื่อควบคุมการจัดกิจกรรมในห้องเรียน มีเกณฑ์การให้
คะแนนที่ชัดเจน โดยทั้งครูและนักเรียนร่วมกันหาคิดหาข้อตกลงการใช้ห้องเรียน
2.3   จัดทำวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อจำแนกศักยภาพของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล ประสบการณ์พื้นฐานความรู้เดิม และวิธีการเรียนรู้ โดยจัดทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน : การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (CAR1)  การวิเคราะห์ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา    ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558  ประเมินความรู้ก่อนเรียนและจัดกลุ่มเด็ก ได้แก่ เด็กเก่ง ปกติ อ่อน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนให้เด็กปกติ สำหรับเด็กเก่งมีการเสริมทักษะด้วยใบความรู้ ใบงานเพิ่มเติม  ส่วนเด็กอ่อนได้จัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนโดยให้เด็กเก่งช่วยสอนเด็กอ่อน และมีคะแนนพิเศษให้เด็กเก่ง เป็นการสร้างวินัยเชิงบวกให้ผู้เรียนโดยใช้คะแนน ความเอื้ออารี ช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้นเรียน
2.4   สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บันทึกเก็บข้อมูล
เพื่อจัดทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน : การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ (CAR2)

3.       ขั้นตรวจสอบ  (Check)
3.1   วัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพจริง  ด้วยวิธีการที่หลากหลาย 
ได้นำเครื่องมือวัด  มีการทดสอบสอบหลังเรียน  เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและมีการประเมินผลระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกหัด การฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินด้วยการเปลี่ยนกันตรวจกับเพื่อน หรือประเมินการทำงานร่วมกันทั้งครู ผู้เรียน และผู้ปกครอง ให้คำแนะนำการทำกิจกรรม หากผู้เรียนมีปัญหา ได้แนะนำและแก้ไขปัญหาโดยการให้เพื่อนช่วยเพื่อน  หรือนำสื่อซีดี ใบงาน ใบความรู้ แบบฝึกหัดที่ผู้สอนจัดทำขึ้นให้ผู้เรียนไปศึกษาที่บ้านเพิ่มเติม
3.2   จัดทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน : กรณีศึกษาผู้เรียน (CAR3) เรื่อง ปัญหาการเรียนรู้
ช้าของผู้เรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 4
4.       ขั้นสรุปผล  (Action) 
4.1   ทำการบันทึกผลการเรียนรู้หลังเรียนทุกหน่วยการเรียนรู้เพื่อเตรียมปรับปรุง แก้ไขปัญหา
ในครั้งหน้า
4.2   สรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายภาคให้ผู้บังคับบัญชาทราบและแนะนำแนว
ทางการแก้ปัญหาต่อไป โดยการจัดทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน : การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ (CAR2
4.3   หลังจากนั้นนำปัญหาจากเรียนการสอนมาจัดทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน : การ

พัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ (CAR4) เรื่องผลการใช้ชุดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง Oral Expression


 ผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีดังนี้1)  ข้าพเจ้าครูพัชรินทร์  กันวะนา พัฒนาตนเองเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้วยการอบรม พัฒนาความรู้ ทักษะภาษาอังกฤษ เช่น ผ่านการอบรมวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิคส์ การจัดการเรียนรู้และพัฒนาสื่อการสอนวิชาภาษาอังกฤษ  เป็นผู้ผ่านการเรียนรู้กิจกรรม Knowledge Sharing   การจัดทำหลักสูตร 2551 และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  สู่ ทศวรรษที่ 21
2) ได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม. 1, 2, 4  และ ม. 6 ที่สมบูรณ์ใช้งานได้จริง
3) ใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน  และการจัดการเรียนรู้  ได้แก่ การใช้สื่อออนไลน์ DLIT  สื่อจากยูทูป  สื่อที่ครูผู้สอนและนักเรียนผลิต  เช่น Power Point นำเสนองาน ความรู้ เรื่อง Oral Expression,  Tenses เป็นต้น
4) จัดทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน CAR1, CAR2, CAR3, CAR4  ได้แก่      4.1  จัดทำรายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน CAR1 ได้รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล เห็นความแตกต่างของผู้เรียน เรื่อง การวิเคราะห์ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558      4.2  จัดทำรายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน CAR2  ได้รู้ปัญหาและแนวการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา      4.3  จัดทำรายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน CAR3  ได้แก้ไขปัญหาให้ผู้เรียนอย่างเป็นระบบ (CAR3) เรื่อง ปัญหาการเรียนรู้ช้าของผู้เรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 คน
      4.4  จัดทำรายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน CAR4  ได้นวัตกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน เรื่อง การพัฒนาแบบฝึก เรื่อง Oral Expression   5)  การสร้างวินัยเชิงบวก ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน  ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข ครูผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์ที่ดี  ดูจากครูผู้สอนได้เป็นครูดีในดวงใจ และแบบประเมินความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้ของครูพัชรินทร์  กันวะนาภาพรวมอยู่ในระดับมาก