Thursday, February 2, 2017

รางวัลครูเพชรล้านนา ครูพัชรินทร์ กันวะนา

รางวัลครูเพชรล้านนา ครูพัชรินทร์  กันวะนา
ใครคือครูครูคือใครในวันนี้                       ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล
                           ใช่อยู่ที่เรียกว่าครูอาจารย์                           ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน
บิดามารดา ปู่ย่าตายายบรรพบุรุษเป็นครูคนแรกเป็นปูชนียบุคคลและเป็นแบบอย่างที่ดีของข้าพเจ้าในการดำเนินชีวิต ทั้งด้านการครองตน ครองคน และครองงาน
“ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น”  ตั้งแต่จำความได้ ข้าพเจ้าได้รับการอบรม ดูแลจาก ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่  ทั้งจากการสั่งสอนด้วยคำพูด การกระทำให้ดูและปฏิบัติตาม  “การกระทำมีค่ากว่าคำสอน”  ข้าพเจ้าจึงภาคภูมิใจที่ได้มีบรรพบุรุษเป็นคนดี  เนื่องจากท่านเป็นชาวนา ชาวสวน ท่านพร่ำสอนให้พวกเราลูกหลานให้ตั้งใจเรียน เป็นคนดีของสังคม ให้มีอาชีพรับราชการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองต่อไป
ดังนั้นข้าพเจ้าก็มีความมุ่งมั่น ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านความประพฤติ ปฏิบัติ กริยามารยาท และปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเต็มใจ ขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค รักการทำงาน พยายามพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ  ตั้งใจสอนศิษย์ด้วยความรักและความเอาใจใส่ เปรียบเสมือนแม่คนที่สองของลูกศิษย์  สอนสั่งทางวิชาการ รวมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ทักษะชีวิต อีกทั้งเป็นที่ปรึกษา แนะแนวทางการเรียนต่อ การดำรงชีวิต ส่งเสริมให้เป็นคนดี อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข 
เพื่อให้การพิจารณาของคณะกรรมการฯ  เป็นไปด้วยความสะดวกและ เห็นผลงาน  
เชิงประจักษ์อย่างเด่นชัด ทั้ง 3 ด้าน คือ การครองตน  การครองคน และการครองงาน  ผู้จัดทำจึงได้จัดทำประวัติและผลงานนี้ขึ้นมา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลครูมืออาชีพ เพชรล้านนา 34  ประเภท ผู้สอน  และการพัฒนาผลงาน วิชาชีพครูต่อไป   
ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม คณะครู บุคลากรของโรงเรียน ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน และนักเรียนทุกคน ที่มีส่วนร่วมในการให้แนวคิดและประสบการณ์การทำงาน   จนสามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วงด้วยดีตลอดมา


การครองตน
มาตรฐานที่ 1. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
          ตัวบ่งชี้ที่ 1 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ข้าพเจ้าปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  แต่งกายเรียบร้อย สุภาพ ไม่เสพสิ่งเสพติด ไม่ประพฤติผิดวินัย อยู่อย่างพอเพียง รวมทั้งปฏิบัติตามจรรยาบรรณครู มีเมตตา ให้การอบรมสั่งสอนความรู้เสริมทักษะและมีจิตสำนึกที่ดีอย่างเต็มความสามารถส่งผลให้ได้รับรางวัลครูดีในดวงใจระดับเครือข่ายพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2552  รับรางวัลครูดีในดวงใจในงานวันครู ประจำปีการศึกษา 2551 

มาตรฐานที่ 2.แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
       ตัวบ่งชี้ที่ 1 การพัฒนาตนเอง
มีการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง โดยการศึกษา ค้นคว้า หาความรู้    เข้าร่วม อบรม ประชุม สัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ร่วมกิจกรรมวันครูทุกปี   เป็นสมาชิกคุรุสภา  กบข.  สหกรณ์ครู มีส่วนร่วมด้านวิชาชีพครู คือ มีการสร้างเครือข่ายครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษในอำเภอดอยเต่า  และครูผู้สอนวิชาภาอังกฤษ ของ สพม. เขต ๓๔ ส่งผลให้  ผ่านการอบรมและทดสอบความรู้ของ Cambridge University ประเทศ อังกฤษ  เรื่อง TKT  (Teaching Knowledge Test)  Module - ๓ ได้ระดับ Band ๓ ผ่านการทดสอบในโครงการจัดอบรมครูเรื่อง  การวัด-ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน” ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ  ได้รับทุนไปศึกษาดูงาน ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย 1 เดือน ตามโครงการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ  และเผยแพร่ความรู้ในงานวิชาชีพด้านวิชาภาษาอังกฤษ  โดยเป็นวิทยากรอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และนักเรียนของศูนย์อิริค สพป.เชียงใหม่ เขต ๕  และเครือข่ายศูนย์อิริคอำเภอดอยเต่า  

มาตรฐานที่ 3. การดำรงคุณภาพชีวิตที่ดี
       ตัวบ่งชี้ที่ 1 มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต
        ข้าพเจ้ามาทำงานตรงเวลา ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์ ใช้จ่ายอย่างประหยัด โดยฝากเงินออมกับธนาคารโรงเรียน ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และสหกรณ์ครู มีฐานะมั่นคง  มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว สังคมโดยดูแลบิดา มารดา ลูกๆด้วยความรัก เอาใจใส่อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ครอบครัวเป็นครอบครัวที่อบอุ่น เป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม  มีน้ำใจและเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การร่วมทำบุญ ร่วมกิจกรรมในหมู่บ้าน ในอำเภอเป็นประจำ

เป็นตัวอย่างที่ดี
                                                                พัฒนาตนเองเป็นประจำ
                                                               ศึกษาดูงานประเทศออสเตรเลีย
                                     

                                     การครองคน
มาตรฐานที่ 4 มีมนุษยสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน
          ตัวบ่งชี้ที่ 1. ปฏิบัติงานได้เหมาะสม มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละ
          ข้าพเจ้าได้ประพฤติปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย มีความสุภาพอ่อนโยนและ ปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะตลอดจนยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มีความเมตตากรุณา ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มีความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความยุติธรรม เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ทุกคน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
ยิ้มง่าย ไหว้สวย คือมารยาทที่พวกเราชาวแดง-ขาวปฏิบัติเป็นประจำ เมตตา มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ผู้ที่ได้รับความทุกข์ และเสียสละ  เช่น บริจาคช่วยเหลือภัยน้ำท่วม  ไฟไหม้บ้านของพี่น้องอำเภอดอยเต่า ร่วมทำบุญในงานศพผู้ปกครองของนักเรียน เยี่ยมบ้านนักเรียน  ทำบุญผ้าป่า  กฐิน 
  
มาตรฐานที่ 5 ร่วมมือกับบุคลากรภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน
          ตัวบ่งชี้ที่ 1. ข้าพเจ้าปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรภายในโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมายรวมทั้งประสานความร่วมมือ เป็นผู้นำในการปฏิบัติพัฒนางาน เพื่อพัฒนาโรงเรียนอย่างเต็มความสามารถ และมีประสิทธิภาพ
     ข้าพเจ้าได้ปฎิบัติงานร่วมกับบุคลากรภายในโรงเรียนในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น  การเข้าร่วมกิจกรรมวันแม่  วันพ่อ  วันเข้าพรรษา  การประชุมผู้ปกครอง  และเป็นผู้นำในการพัฒนางาน โครงการ  พัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง จากกระทรวงสาธารณสุข และปัจจุบันได้รับมอบหมายให้เป็นรองฝ่ายชุมชนและภาคีเครือข่าย ของโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม ได้ประสานความร่วมมือพัฒนางานของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดทำวารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ “สะเลียมหวาน”  การประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย  การจัดทำแผ่นพับ  ดำเนินการฝ่ายพิธีการงานต่างๆในโรงเรียน รวมทั้งการฝึกพิธีกรน้อย  นักประชาสัมพันธ์น้อย มัคคุเทศก์น้อย เป็นต้น
     ตัวบ่งชี้ที่ 2 ร่วมมือกับชุมชนและองค์กรอื่น
          ข้าพเจ้าเข้าร่วมปฏิบัติงานกับชุมชนและองค์กรอื่นๆตามโอกาสอำนวยและให้ความร่วมมืออย่างจริงใจ เต็มความสามารถและยังได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย ประสานงานกับชุมชน เพื่อพัฒนางานที่รับผิดชอบจนทำให้งานบรรลุความสำเร็จ เช่น ประสานงานชมรมศิษย์เก่า  ชมรมผู้ปกครองและครู  คณะกรรมการสถานศึกษาฯ เข้าร่วมประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่วนราชการอำเภอดอยเต่า อีกทั้งร่วมมือดำเนินการฝ่ายพิธีการงานต่างๆในชุมชน เช่น เป็นพิธีกรงานต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เยี่ยมชาวดอยเต่า  งานแจกผ้าห่มกันหนาวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ งานฝ้าป่าชมรมผู้สูงอายุ  งานลอยกระทง  เป็นต้น

มาตรฐานที่ 6 มีความเป็นธรรมในการประพฤติปฏิบัติต่อบุคคลและสังคม
     ตัวบ่งชี้ที่ 1 มีความเป็นธรรมในการประพฤติปฏิบัติต่อบุคคล
            การอยู่ร่วมกันต้องมีคุณธรรม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ข้าพเจ้าได้ช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจน  ให้คำปรึกษาผู้ปกครองและนักเรียนอย่างเสมอภาค มีการวินิจฉัย แก้ปัญหาให้นักเรียนที่อยู่ในความดูแล โดยการไปเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริง ส่งผลให้ข้าพเจ้าได้รับรางวัล อาจารย์ที่ปรึกษาดีเด่น  นอกจากนี้ได้ให้คำปรึกษาเพื่อนครูในการจัดการเรียนรู้ด้านวิชาภาษาอังกฤษ ส่งผลให้วิทยากรการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เพื่อนครู และนักเรียน ของศูนย์อิริค และศูนย์เครือข่ายอำเภอดอยเต่า  อีกทั้งมีความเป็นธรรมในการประพฤติปฏิบัติต่อบุคคลและสังคม จึงได้เป็นคณะกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะวิชาการต่างๆในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ของ สพป.เชียงใหม่ เขต ๕ และ สพม. เขต ๓๔   

    ตัวบ่งชี้ที่ 2 มีความเป็นธรรมในการประพฤติปฏิบัติต่อสังคม

          สังคมในชุมชนอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน หน่วยงานในชุมชนขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ข้าพเจ้าก็จะให้ความร่วมมือในการให้คำแนะนำ ปรึกษาหารือ ช่วยเหลือสังคมด้วยความเต็มใจอย่างเสมอภาค มีการวินิจฉัย ตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่างๆโดยยึดหลักคุณธรรมจนเป็นที่ยอมรับและศรัทธาทางสังคม เช่น ได้เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ศูนย์พัฒนาเครือข่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของ สพม. เขต ๓๔ ดูแลกองทุนการศึกษาของปู่และย่า ทุนพ่อสุข แม่ติ๊บ  นำปุ๊ด ให้กับนักเรียนประถมศึกษาในอำเภอดอยเต่า ปีละ 4 ทุนๆละ 1500 บาท และทุนการศึกษาของพระสงฆ์ ปีละ 3 ทุนๆ ละ 1000 บาท เป็นต้น
                                                            ร่วมงาน วันพ่อแห่งชาติ
                                               หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
                                                      พิธีกรงานลอยกระทงของอำเภอ
                                                         พิธีกรงานในโรงเรียนและชุมชน
                                                               

                                           การครองงาน
ข้าพเจ้ามีแนวทางจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ จัดทำแผนการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดในการทำงานแบบ PDCA 
ขั้น Plan  มีการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง  สภาพท้องถิ่น นักเรียน  จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  วางแผนการจัดการเรียนรู้  ออกแบบการเรียนรู้  จัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งตรงตามมาตรฐานของโครงการครูมืออาชีพ “เพชรล้านนา 34” ดังนี้
มาตรฐานที่ 7 การวางแผนเตรียมการจัดการเรียนรู้
        ตัวบ่งชี้ที่ 1 การวางแผนการจัดการเรียนรู้
          ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้าพเจ้าได้วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง  ร่วมจัดทำหลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นและความต้องการนักเรียน  มีการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการของนักเรียนและท้องถิ่น จากการเยี่ยมบ้านนักเรียน สำรวจความต้องการของผู้ปกครอง จากนั้นจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  โดยเน้นกระบวนการคิดและการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน     เพื่อนำทางไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ 
          ตัวบ่งชี้ที่ 2 การเตรียมการจัดการเรียนรู้
       ก่อนที่จะดำเนินงานข้าพเจ้าเตรียมการสาระการเรียนรู้จากการวิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีการจัดทำโครงสร้างรายวิชาและออกแบบการจัดหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเน้นกระบวนการคิด และการฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์
           ตัวบ่งชี้ที่ 3 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
          ข้าพเจ้าจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีการวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล CAR1 มีการจัดหน่วยการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน มัธยมศึกษาปีที่ 1 เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว เช่น  Myself,  My Family,  My Friends,  My Home เป็นต้น  รวมทั้งมีการวัดและประเมินผลตามมาตรฐาน ตัวชี้วัดทั้งความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (KPA)  โดยเน้นกระบวนการคิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีนักเรียนเป็นสำคัญ
  
ขั้น Do   ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนที่วางไว้  ดูแล ชี้แนะนักเรียน รวมทั้งสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้นักเรียนได้ประพฤติปฏิบัติในขณะเรียนรู้ และครูปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งตรงตามมาตรฐานของโครงการครูมืออาชีพ “เพชรล้านนา 34” ดังนี้
มาตรฐานที่ 8 การดำเนินงานจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
          ตัวบ่งชี้ที่ 1 การดำเนินการจัดการเรียนรู้
          ข้าพเจ้าได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนด มีการกระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรมโดยการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ การทำงานกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เช่น นักเรียนเรียนเก่งช่วยดูแลให้คำปรึกษาชี้แนะนักเรียนเรียนอ่อน  และมีการบันทึกผลการเรียนรู้หลังการจัดกิจกรรมเพื่อนำไปแก้ไข พัฒนาต่อไป
          ตัวบ่งชี้ที่ 2 แผนปฏิบัติงานหรือมีโครงการหรือกิจกรรม ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
            ข้าพเจ้าร่วมมือกับคณะครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติงานของโรงเรียน เพื่อจัดทำโครงการ และกิจกรรมในการพัฒนาโรงเรียนให้มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีแนวทางในการทำงาน  รวมทั้งโครงการพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้ถูกกำหนดอยู่ในแผนปฏิบัติงานของโรงเรียน ดำเนินงานตามโครงการ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานจากฝ่ายแผนงานฯ  และทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้สรุปรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
มาตรฐานที่ 9 การใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้
          เนื่องจากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจำเป็นต้องมีการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน  ซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยสำเนียงของเจ้าของภาษา  การเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงใช้สื่อผสมหลากหลายแหล่งเช่น จากอินเตอร์เน็ต  สื่อสำเร็จรูป ซีดีพร้อมหนังสือ  รวมทั้งสื่อที่ข้าพเจ้าและนักเรียนผลิตขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ตามความรู้พื้นฐานและบริบทของนักเรียน เช่น  สื่อนำเสนอ Power Point   หนังสืออิเลกทรอนิกส์ E-book  เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ  ชุดการสอนภาษาอังกฤษ  แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เป็นต้น และข้าพเจ้าได้รายงานการใช้สื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพต่อไป

ขั้น Check  ตรวจสอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการวัดประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น        การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  การทดสอบความรู้ด้วยแบบทดสอบ  การทำแบบฝึกหัด  การประเมินชิ้นงาน  การประเมินการพูดสนทนา การเขียน การฟัง การอ่านออกเสียง เป็นต้น       ซึ่งตรงตามมาตรฐานของโครงการครูมืออาชีพ “เพชรล้านนา 34” ดังนี้
               มาตรฐานที่ 10 การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
    จากการวิเคราะห์หลักสูตร ออกแบบการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้  จำเป็นต้องมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้รู้ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนและความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้  ข้าพเจ้าจึงออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากเป้าหมาย มาตรฐาน ตัวชี้วัดที่กำหนด โดยใช้แบบทดสอบ  การสังเกตการทำงาน  การเข้าเรียน  การส่งงานประเมินจากการพูดสนทนา  การอ่านออกเสียง  การเขียน เป็นต้น ในกรณีเป็นชิ้นงานหรือผลงานการเขียนจะมีการประเมินการทำงานจากผู้ปกครองของนักเรียน  เก็บรวบรวมคะแนน สรุปผลคะแนนรายงานผู้บริหาร และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อพัฒนา ปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียนต่อไป 

ขั้น Action  นำผลการวัดและประเมินผลมาพัฒนา ปรับปรุง  แก้ไข  การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียน      เป็นต้น  เช่น การทำวิจัยในชั้นเรียน  เรื่อง การแก้ปัญหาการสะกดคำศัพท์โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษ รายงานผลการใช้ชุดการสอนการเขียนภาษาอังกฤษ เป็นต้น
                                                    กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยเพลง
กิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การสื่อสารเจ้าของภาษา
                                                             กิจกรรมพัฒนานักเรียน
                                                            การเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยไอซีที
                                                                บรรยากาศการเรียนรู้
ติดตามพฤติกรรมด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน


Wednesday, February 1, 2017

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ครูพัชรินทร์ กันวะนา

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS  ระดับชาติ
ครูพัชรินทร์  กันวะนา
ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนยอดเยี่ยม   ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ประเภทครูผู้สอน   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม  จังหวัดเชียงใหม่
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๔

ห้องเรียนคุณภาพรายวิชาภาษาอังกฤษของครูพัชรินทร์  กันวะนา

OBEC AWARDS ครั้งที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๙

เตรียมความพร้อมการนำเสนอ ณ จังหวัดนครนายก

เพื่อนรุ่นพี่ร่วมอุดมการณ์ ครูคุณภาพ

เพื่อนภาคเหนือร่วมอุดมการณ์ ครูคุณภาพ

คณะผู้บริหารคุณภาพ

ผู้สนับสนุน ส่งเสริมความเป็นครูคุณภาพ

เตรียมพร้อมการนำเสนอผลงาน

 
เตรียมความพร้อมรอนำเสนอผลงาน

ครูคนแรก ตัวอย่างดีมีค่ากว่าคำสอน

ครูคนแรก  ผู้สนับสนุน ส่งเสริมให้เป็นคนดี มีคุณภาพตลอดชีวิต

*************************************************************

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS  ระดับภาคเหนือ
ครูพัชรินทร์  กันวะนา
ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนยอดเยี่ยม   ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ประเภทครูผู้สอน   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม  จังหวัดเชียงใหม่
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๔


 เตรียมรอรับการประเมิน ณ จังหวัดลำปาง
เพื่อนร่วมอุดมการณ์ ระดับภาคเหนือ

คณะกรรมการฯ ประเมินผลงาน

เตรียมการนำเสนอ

ผลงานการนำเสนอ

นำเสนอผลงาน ห้องเรียนคุณภาพรายวิชาภาษาอังกฤษของครูพัชรินทร์  กันวะนา