แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่
1. หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพทางการศึกษา โดยระบุให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก ทั้งนี้ระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งมีการประกาศใช้กฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษามาแล้ว 2 ฉบับ คือ ฉบับ พ.ศ.2546 และฉบับ พ.ศ.2553 ต่อมาได้มีการประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 และกระทรวงศึกษาธิการมีการประกาศให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ.2561 ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2561 รวมทั้ง ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2561 ตลอดจนจัดทำเอกสารแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการกำหนดกรอบและแนวทางในการตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่เป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด
2. วัตถุประสงค์
เพื่อจัดทำแนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ให้เป็นระบบเป็นแบบอย่างที่ดีพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
1. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
จากแผนภาพ 1. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา
พ.ศ. 2561 งานส่งเสริมพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
กลุ่มนิเทศ
ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ระดมความคิดร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา
และครูผู้รับผิดชอบงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดมความคิด
จัดทำแนวทางพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่
ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
ได้สรุปแนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา
พ.ศ. 2561 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ดังต่อไปนี้
1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานตามระบบงานประกันคุณภาพการศึกษา
การดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพการศึกษานั้น ประเด็นแรกที่เป็นความสำคัญสูงสุด
คือ การสร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาจึงต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นให้บุคลากรในสถานศึกษา
/กำหนดบทบาทหน้าที่และจัดทำคำสั่งแต่งตั้งกรรมการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ศึกษาบริบทของสถานศึกษา
นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด หรือนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยการประชุมยกร่างการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ครอบคลุมสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่นด้วย ดังนั้น สถานศึกษาจึงต้องวิเคราะห์มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาตรฐานคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรของสถานศึกษา นโยบายของหน่วยงานส่วนกลาง คุณลักษณะพิเศษของผู้เรียนที่สถานศึกษา ท้องถิ่นและชุมชนคาดหวัง เพื่อนำมาสังเคราะห์หลอมรวมกำหนดเป็นมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยพึงตระหนักเสมอว่ามาตรฐานที่เกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียนเป็นเป้าหมายสูงสุดในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนดขึ้นนั้น ควรมีการระบุค่าเป้าหมายความสำเร็จและตัวชี้วัดที่เป็นองค์ประกอบของมาตรฐานนั้น ๆ ให้ชัดเจน เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริง ประชาพิจารณ์มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและค่าเป้าหมายความสำเร็จ และนำเสนอคณะกรรมการบริหารโรงเรียนให้ความเห็นชอบแล้วประกาศมาตรฐานการศึกษาและค่าเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
3. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา
แผน (Plan)
เป็นเอกสารที่แสดงโครงการ กิจกรรม วิธีการที่ได้ผ่านการคิดมาแล้วล่วงหน้า
โดยผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันคิดและพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ
สำหรับเป็นเครื่องชี้นำการดำเนินการใด ๆ ที่สอดรับกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์
พันธกิจขององค์กร การวางแผนมักมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและ กรอบเวลาของการดำเนินการตามแผนอย่างชัดเจน ในสถานศึกษาต้องมีการจัดทำแผน 2
ประเภท คือ
1) แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (Strategic Plan /
Improvement Plan)
ซึ่งเป็นแผนที่มีรอบระยะเวลาการพัฒนาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 3-
5 ปี ตามบริบทของสถานศึกษา แผนประเภทนี้จะสะท้อนกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่จะใช้ในการพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย
ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่วางไว้
2) แผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan / Operation plan)
ซึ่งแตกออกมาจากแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อการดำเนินงานเป็นรายปี
แผนปฏิบัติการประจำปีแต่ละปีควรมีจุดเน้นที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมนอกจากความชัดเจนในการดำเนินกิจกรรมตามกรอบเวลา
สถานที่ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบแล้ว
สถานศึกษาต้องกำหนดกิจกรรมการติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ความก้าวหน้าของ การดำเนินงาน
การปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ราบรื่น คล่องตัว
มีการประเมินตนเอง
อันนำไปสู่การได้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำไปเขียนรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาต่อไป
การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดไว้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดระบบการบริหารสถานศึกษาและระบบสารสนเทศเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนี้
1) การจัดระบบบริหารสถานศึกษา สถานศึกษาสามารถจัดระบบบริหารโดยอาศัยแนวคิด ทฤษฎีหรือผลงานวิจัยที่มีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาโดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายใช้เทคนิคการบริหารและการจัดการให้สามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย เช่น การใช้วงจรการพัฒนาคุณภาพ (PDCA : Plan Do Check Act) ของเดมิ่ง (Deming Cycle) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (TQM) เป็นต้น การจัดโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาควรจัดให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดที่มีการแบ่งงานเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป
2) การจัดระบบสารสนเทศ สถานศึกษาควรมีการจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ ครอบคลุมและเพียงพอต่อการนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษาสืบค้นได้ง่ายและรวดเร็ว ผู้รับผิดชอบดูแลสารสนเทศของสถานศึกษาต้องทำงานอย่างมีระบบ โดยมีการกำหนดกรอบการเก็บข้อมูลเฉพาะที่จำเป็นวางแผนการเก็บข้อมูลซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายสร้างความเข้าใจให้ทุกฝ่ายความตระหนักถึงความจำเป็นในการเก็บข้อมูลและสารสนเทศเพื่อให้เกิดความร่วมมือและให้ข้อมูลที่ถูกต้องข้อมูลและสารสนเทศทั้งหลายล้วนต้องได้จากครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาทั้งสิ้นเมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องการได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
หมายถึง การนำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้สู่การปฏิบัติ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้นเปรียบเสมือนเข็มทิศ ชี้ทางการทำงาน เพื่อให้ทุกคนทุกฝ่ายมีเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานที่ไม่ขัดแย้งกันการพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดขึ้น
สถานศึกษาต้องมีระบบกลไกการบริหารและจัดการที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา โดยไม่เป็นภาระกับครูหรือผู้เกี่ยวข้องมากเกินไป ผู้บริหารควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ
เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดูแล กำกับ
ติดตามและนิเทศงานของบุคลากรทุกคน/ทุกฝ่ายเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ ให้ความสำคัญการดำเนินงานและปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องจนเป็นปกติวิสัย ครูต้องทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนอย่างเต็มศักยภาพและเต็มเวลาแบ่งเวลาหรือบริหารเวลาในการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีได้อย่างเหมาะสมและบรรลุผลสำเร็จตามแผน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน ซึ่งทุกคนที่เกี่ยวข้องจะปฏิบัติตามหน้าที่และบทบาทของตนเองอย่างดีที่สุดมีการกำกับ
ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของแผนงาน โครงการ
กิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามระยะเวลาและบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
5. ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
เป็นระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ
และประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่ดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยบุคลากรในหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
สถานศึกษาต้องกำหนดหรือมอบหมายผู้รับผิดชอบในการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรในสถานศึกษาตามบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย วิเคราะห์มาตรฐานและเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่ประกาศใช้
กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่หลากหลายและเหมาะสม
ดำเนินการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ
1 ครั้ง
เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ไปใช้ปรับปรุงหรือพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ทั้งนี้ สถานศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการประเมินเชิงคุณภาพด้วยวิธีการประเมินคุณภาพแนวใหม่ ได้แก่ การประเมินแบบองค์รวม (holistic assessment) การตัดสินผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ (expert judgment) การประเมินจากหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence based) และการตัดสินโดยคณะกรรมการในระดับเดียวกัน (peer review) ที่สะท้อนคุณภาพของผลที่เกิดจากการดำเนินงาน จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอย่างแท้จริง ผสมผสานกับการประเมินเชิงปริมาณควบคู่กันไป และสถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องและนำผลที่ได้ไปบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาไปสู่เป้าหมายของมาตรฐานการศึกษา แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี จัดทำรายงานผลการติดตาม นำเสนอผลการติดตามต่อผู้บริหารเพื่อรับทราบ และใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพสูงขึ้นต่อไป
6.
ติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
การติดตามผลการดําเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจําปีของสถานศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ไปใช้ปรับปรุงหรือพัฒนาการดําเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาประเด็นที่สถานศึกษาติดตามผล ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา เช่น การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้การพัฒนาบุคลากร กระบวนการบริหารและจัดการ การจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้เป็นต้น และการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจําปีของสถานศึกษาว่าดําเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมาย ตัวชี้วัดความสําเร็จที่กําหนดหรือไม่ อย่างไรสถานศึกษาสามารถติดตามผลระหว่างและเมื่อเสร็จสิ้นการดําเนินงานก็ได้สถานศึกษาควรกําหนดผู้รับผิดชอบในการติดตามผล กําหนดปฏิทินปฏิบัติงานติดตามผล วิเคราะห์และกําหนดกรอบพร้อมกับสร้างเครื่องมือติดตามผลจัดทําระบบข้อมูลสารสนเทศ และรายงานผลการติดตามอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
7. จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report : SAR)
การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report : SAR) เป็นผลที่เกิดจากการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
และติดตามผลการดำเนินการตามมาตรฐานการศึกษา
ที่สถานศึกษาจัดทำขึ้น เพื่อให้ทราบว่าสถานศึกษามีผลการดำเนินงานในภาพรวม และรายมาตรฐานอยู่ในระดับคุณภาพใด
มีหลักฐานข้อมูลใดที่สนับสนุนว่าสถานศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับนั้น เพื่อให้ผู้บริหารใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตลอดทั้งปี
เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น สาระสำคัญของรายงานผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
โดยแต่ละมาตรฐานนำเสนอใน 3
ประเด็น คือ
1. คุณภาพในแต่ละมาตรฐานอยู่ในระดับใด
2. มีหลักฐานในการอ้างอิงผลการประเมินตามประเด็นพิจารณาของแต่ละมาตรฐานอย่างไร
3. สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร
8. พัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการดำเนินงานตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
โดยนำผลการประเมินที่สะท้อนคุณภาพของผู้เรียน และผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษา ทั้งด้านผู้เรียน
ด้านผู้สอน ด้านปัจจัยพื้นฐานมาใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นฐานในการขับเคลื่อนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
ที่มา : งานพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสหวิทยาเขตกลุ่มดอยสุเทพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่