Monday, March 29, 2021

การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในยุคศตวรรษที่ 21

 

 การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในยุคศตวรรษที่ 21

·       ความสำคัญของภาษาอังกฤษในยุคศตวรรษที่ 21

ในภาวะปัจจุบันที่อิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้น การเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่นย่อมได้เปรียบในการทำกิจการการค้า ธุรกิจต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทย กำลังพัฒนาตัวเองไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ในหลายๆด้านรวมทั้งผู้ชำนาญด้าน ภาษาด้วยในยุคศตวรรษที่ 21 ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทยและคนทั่วโลกไปแล้ว เพราะ มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดู โทรทัศน์การดูภาพยนตร์การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่าง ๆ ภาษาอังกฤษเป็น ภาษาหนึ่งที่สำคัญของโลกในศตวรรษที่ 21 และเป็นวิชาหลักที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้การประกอบอาชีพ การสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและ มุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจ ตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีการคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อ การสื่อสารได้รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต ในสังคมปัจจุบันและสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้มากขึ้น ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารผ่านทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งทางด้านการพูดและการเขียน โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษสามารถหา ความรู้เพิ่มเติม โดยเข้าถึงแหล่งความรู้ซึ่งมีอยู่อย่างไม่จํากัดทั่วโลกด้วยความสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งในปัจจุบัน เป็นยุคที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กล่าวคือ ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษดี และสามารถใช้เทคโนโลยีได้ด้วยนั้นจะช่วยส่งเสริมให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการจัดการศึกษาด้านภาษาอังกฤษนั้นผู้สอนหากลวิธีที่จะ สามารถพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาของผู้เรียน เช่น ด้านการอ่านและการเขียนให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิด การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และพยายามให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ( Life-Long Learning)


  ·       การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21

กระทรวงศึกษาศึกษาธิการมีนโยบายปฏิรูประบบการเรียนการศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยเฉพาะทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และใช้เป็นเครื่องมือ ในการแสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนาตน ซึ่งนำไปสู่ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

เบญจวรรณ พงศ์มัฆวาน (2544, หน้า 2) กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้แนะแนวทางการจัดการเรียน การสอนภาษาอังกฤษโดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมใน การเรียนมากขึ้น และใช้กิจกรรมต่าง ๆหลากหลายชนิดเข้ามาช่วยในการดำเนินการสอน โดยครูผู้สอนต้องคำนึงถึง ความสามารถ ความถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน 310 Journal of Yanasangvorn Research Institute Vol. 7 No. 2 (July - December 2016)

ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษผู้สอนต้องปรับเปลี่ยน และประยุกต์วิธีการสอนของตนเพื่อ สามารถเลือกวิธีสอน กิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนและจุดมุ่งหมายของ การเรียนภาษาในแต่ละระดับชั้น ซึ่งทำให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพ แนวคิดสำคัญที่ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องเรียนรู้เพื่อนำมาจัดการเรียนการสอนมีดังต่อไปนี้คือ (กระทรวงศึกษาธิการ (2545, หน้า 144-145)

1. หลักสูตรภาษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner – Centered Language Curriculum)

2. แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching)

3. การสอนภาษาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Language for Specific Purposes)

4. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning)

5. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

6. การจัดการเรียนการสอนแบบภาษาที่เน้นเนื้อหา (Content-Based Instruction)

7. การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach)

8. การเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project-Based Learning)

9. การเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (Task-Based Language)

10. การสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)

11. วิธีการสอนด้วยการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response)

12. การเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบไฟร์แม็ทซิสเต็ม (4 MATS Language System)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ครูผู้สอนต้อง จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะ กระบวนการ มีความสามารถ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ครูต้องมีเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) คือ วิธีการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด การทำงานร่วมกัน เช่น การจัดกิจกรรมโต๊ะกลมเพื่อนำไปสู่การสอนคำศัพท์ไวยากรณ์การออกเสียงอย่างถูกต้อง จนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องแล้วจึงนำความรู้ที่ได้ไปฝึกในสถานการณ์จริง

·       กลวิธีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

ในส่วนนี้ผู้เขียนขอนำเสนอเกี่ยวกับกลวิธีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยทักษะ การฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ทักษะการฟัง การฟังเป็นทักษะที่ต้องฝึก เช่นเดียวกับการพูด การอ่านและการเขียน ผู้เรียนบางคนคิดว่าการฟังนั้นเป็น ทักษะที่ง่ายไม่จำเป็นต้องฝึกฝนก็สามารถฟังได้การฟังจะมีประโยชน์อย่างยิ่งก็ต่อเมื่อผู้ฟังรู้จักฟัง สิ่งสำคัญที่สุด สำหรับการฟังคือ ผู้ฟังต้องมีความตั้งใจเพื่อจะฟังให้เข้าใจและ สามารถโต้ตอบกับสิ่งที่ฟังได้ผู้สอนควรสอนทักษะ การฟังให้แก่ผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอและเน้นการฟังอย่างหลากหลาย โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฟังเสียงของเจ้าของ ภาษาและสอนเสียงที่เป็นปัญหา รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกการฟังทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ครูผู้สอนต้องอธิบายเหตุผลหรือวัตถุประสงค์ในการฟังให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการฟังอย่างตั้งใจและประสบความสำเร็จในการฟัง สิ่งสำคัญเพื่อการฟังนั้นบรรลุวัตถุประสงค์การวัดและไม่เน้นการทดสอบ แต่ควรประเมิน ความสามารถในการฟังของผู้เรียนในแง่ของการประสบความสำเร็จในการสื่อสาร

ในการสอนทักษะการฟังนี้โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ (Audio Visual-Aids) เช่น เครื่องบันทึกเสียง รูปภาพ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นมากซึ่งจะช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้สอนอาจฝึกการฟังโดยให้ ผู้เรียนฟังคำ วลีประโยค หรือบทสนทนาง่ายๆ สั้นๆ ในห้องปฏิบัติการทางภาษา (Language Laboratory) หรือ เรื่องราวที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน ฟังเสียงเพลงภาษาอังกฤษทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ การสอนทักษะการฟังเป็นการพัฒนาความสามารถการฟังที่ต้องอาศัยระยะเวลาการฝึกฝนที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่ เป็นทักษะที่จะเกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติ หน้าที่สำคัญอันหนึ่งของครูผู้สอนภาษาคือ การนำเอาวิธีการหรือ เทคนิคที่จะฝึกการฟัง มาสอนผู้เรียน เพื่อให้นักเรียนได้เกิดประโยชน์ในการเรียนภาษาอังกฤษมากที่สุด โดยมี ลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายากดังนี้สุภัทรา อักษรานุเคราะห์ (2532, หน้า 56)

1. เริ่มต้นด้วยการฟังคำเดี่ยว ฟังวลีและประโยค ซึ่งผู้สอนต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนแสดงออกใน ลักษณะต่างๆ กันเช่น การปฏิบัติตามคสั่ง วาดรูป เล่นเกม บอกทิศทางตามแผนที่ ทั้งนี้อาจให้สังเกตการเน้นหนัก เบาในคำ และระดับเสียงสูงต่ำในประโยค

2. การฟังโดยพยายามเชื่อมโยงคต่างๆ ที่ได้ยินเป็นกลุ่มที่มีความหมายเพื่อให้จง่ายเช่น พยายามสร้าง จินตนาการจากคเป็นภาพอาจจะเป็นภาพที่สวยงามหรือตลกเพื่อให้จำสิ่งที่ฟังได้นานขึ้นและเกิดความสนใจที่จะ ฟังต่อไป

3. การฟังเรื่องสั้นๆ ซึ่งอาจมีคําศัพท์และโครงสร้างที่ผู้เรียนมีความรู้เดิม โดยที่ผู้สอนให้สรุปเหตุการณ์ว่า ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

4. การฟังบทสนทนาหรือข้อความต่างๆ ควรเป็นบทสนทนาหรือข้อความที่ใช้ในชีวิตประจวันและ เป็นธรรมชาติเพื่อให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับภาษาที่ใช้อยู่จริง

ทักษะการพูด

การพูดเป็นการถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจและความรู้สึกให้ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจจุดมุ่งหมายของผู้พูด การพูดเป็นองค์ประกอบสำคัญมากในการเรียนภาษา เนื่องจากการพูดทให้ทราบว่าผู้พูดใช้ภาษาได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ หรือไม่ การสอนทักษะการพูดในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นให้นักเรียนใช้ทักษะการพูดเพื่อ การสื่อสารได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องสถานการณ์จริง

ในการจัดการเรียนการสอนทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารนั้น ผู้เรียนจะต้องสื่อความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจ วัตถุประสงค์ของตนเองที่จะพูด และผู้สอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางภาษาโดยใช้สถานการณ์ต่างๆ ซึ่งคำนึงถึงความสามารถในการสื่อความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทักษะการพูดไม่ได้ยึดความถูกต้องตาม หลักไวยากรณ์เพียงอย่างเดียว การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร ผู้สอนต้องจัด บรรยากาศการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้เน้นกระบวนการสอนมากกว่ารูปแบบของการสอน สอนจากสิ่งที่ ง่ายไปสู่สิ่งที่ยากเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจัดกิจกรรมและใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย และให้ กลังใจโดยการชมเชย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน

ทักษะการอ่าน

ทักษะการอ่านที่สำคัญในการศึกษาทุกระดับ เนื่องจากการเรียนวิชาต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้องเรียนต้องใช้ การอ่านเป็นสื่อในการเรียนรู้ โดยเฉพาะในการเรียนภาษาเพราะผู้เรียนมีโอกาสใช้ทักษะ ฟัง พูด และเขียนน้อย กว่าทักษะการอ่าน ดังนั้นการอ่านจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการนไปสู่การแสวงหาความรู้ทั้งปวง

กระบวนการอ่านเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับหลายๆด้าน ครูผู้สอนต้องหากลวิธี การเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนด้านการอ่าน โดยตระหนักถึงกลวิธีการเรียนรู้และจัดประสบการณ์ด้าน การฝึกอย่างทักษะการอ่านอย่างเป็นระบบ การสร้างแรงจูงใจในการอ่านให้แก่ผู้เรียน ตลอดจนควบคุมและกำกับ ตนเองในด้านการใช้กลวิธีการเรียนให้แก่ผู้เรียน สุมิตรา อังวัฒนกุล (2540: 178-179) ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรม ในการสอนอ่าน ดังนี้

1. กิจกรรมก่อนการอ่าน (Pre-reading Activities) ผู้สอนต้องหาวิธีสร้างแรงจูงใจในการอ่านให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะมีกิจกรรม เช่น การคาดคะเนเรื่องที่อ่าน การเดาความหมายของคําศัพท์จากบริบท โดยดูจากประโยค ข้างเคียงหรือรูปภาพ เป็นต้น

2. กิจกรรมระหว่างการอ่าน (While-reading Activities) ผู้เรียนต้องทำความเข้าใจโครงสร้างและเนื้อหา ในเรื่องที่อ่าน กิจกรรมในขั้นนี้เช่น การลำดับเรื่องจากการตัดเรื่องออกเป็นส่วนๆ (Strip Story) การเขียนแผนผัง ความสัมพันธ์ในเรื่อง (Semantic Mapping) การเติมข้อความลงในแผนผัง (Graphic Organizer) และการเล่า เรื่องโดยสรุป

3. กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-reading Activities) เป็นการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน กิจกรรม อาจโยงไปสู่ทักษะอื่น เช่น การแสดงบทบาทสมมติเขียนเรื่องหรือโต้ตอบจากจดหมายพูดแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน การอ่านไม่ใช่การสื่อความหมายจากตัวอักษรที่ปรากฏเท่านั้น แต่เป็นกระบวนการที่เกิดจาก การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านและผู้เขียน หากผู้อ่านมีความรู้หรือประสบการณ์เดิมในเรื่องที่อ่าน จะช่วยในการแปล ความหมายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากเรื่องที่อ่านนั้นผู้อ่านไม่เคยพบเห็นมาก่อน ผู้อ่านก็ยิ่งต้องใช้ความพยายามใน การหาความหมายจากสิ่งที่อ่านมากขึ้นเท่านั้น อาจจะใช้วิธีการเดาจากบริบทหรือสิ่งชี้นำที่ปรากฏในข้อความ ซึ่งถ้าผู้อ่านรู้จักนำกลวิธีต่างๆ มาใช้ในการอ่านได้อย่างถูกวิธีผู้อ่านก็จะเข้าใจข้อความได้ดียิ่งขึ้น และทำให้บรรลุ จุดประสงค์ในการอ่าน

 

ทักษะการเขียน

การเขียนเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับข้อความที่ปรากฏตามตัวอักษร คศัพท์ไวยากรณ์ที่ได้รับ การเรียบเรียงไว้อย่างถูกต้อง และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียนที่จะสื่อสารไปยังผู้อ่าน กล่าวสรุปได้ว่า การเขียนเป็นกระบวนการของการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนออกมา โดยใช้สัญลักษณ์ตัวอักษรซึ่งผู้เขียน จะต้องเรียบเรียงความคิดอย่างเปนระบบและถูกต้องตามโครงสร้างและไวยากรณ์ของการเขียน เพื่อสื่อความหมาย ให้ผู้อ่านเข้าใจ ไรมส์ (Raimes. 1987, pp.83-84) ได้กล่าวถึงแนวการสอนเขียนไว้ 5 รูปแบบ คือ

1. แนวการสอนเขียนแบบอิสระ (Free-Writing Approach) ในการสอนเขียนวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ฝึกให้ผู้เรียนเขียนข้อมูลหรือเนื้อหาจนเกิดความคล่องแคล่ว มากกว่าการเน้นรูปแบบงานเขียนและความถูกต้อง ของการใช้ภาษา กิจกรรมการสอนเขียนจึงอยู่ในรูปของการเขียนเช่น การเขียนบันทึกประจวัน การเขียนวิธีนี้ ผู้เขียนต้องเขียนถ่ายทอดความคิดให้มากที่สุด โดยไม่ต้องคนึงถึงความถูกต้องของหลักไวยากรณ์กิจกรรมเหล่านี้ มุ่งเน้นการพัฒนาความเชื่อมั่นในการเขียนให้เกิดขึ้นก่อน แล้วจึงค่อยให้ความสำคัญต่อหลักเกณฑ์การเขียนและ การใช้ภาษา

2. แนวการสอนเขียนแบบเน้นรูปแบบอนุเฉท (Paragraph-Pattern Approach) การสอน เขียนแนวนี้เน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ตลอดจนการเรียบเรียงเนื้อความ โดยการใช้ตัวอย่างงาน เขียนมาให้ผู้เรียนได้ศึกษาในระดับอนุเฉท แล้วให้ผู้เรียนเลียนแบบการเขียนอนุเฉทชนิดต่างๆกิจกรรมจึงอยู่ในรูป ของการฝึกเขียนประโยค เพื่อรวมเป็นอนุเฉท ตลอดจนการฝึกหาประโยคหลัก (Topic Sentence) และประโยค สนับสนุน (Supporting Sentence) ของเนื้อเรื่อง

3. แนวการสอนเขียนแบบเน้นการเรียบเรียงไวยากรณ์และวากยสัมพันธ์ (Grammar Syntax Organization Approach) การสอนจะเริ่มต้นจากการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้องค์ประกอบที่สำคัญของประโยครูปแบบ กริยาและการวางแผนการเขียน โดยเน้นลดับเหตุการณ์ก่อนหลัง เป็นต้น โดยเชื่อว่าการเขียนที่ดีเกิดจาก ความสามารถในการนองค์ประกอบที่สำคัญของภาษามารวมกัน แล้วสื่อความหมายได้

4. แนวการสอนเขียนแบบเน้นการสื่อสาร (Communicative Approach) เป็นการสอนที่เน้น การคำนึงถึงการสร้างเนื้อหาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงให้ความสำคัญต่อวัตถุประสงค์ในการเขียนและผู้อ่าน มาก กิจกรรมจึงอยู่ในรูปของการกำหนดบทบาทหรือคำถามที่ว่า ทำไมจึงต้องเขียนและใครเป็นผู้อ่าน โดยกิจกรรม จะมุ่งเน้นและฝึกให้นักเรียนได้เขียน หรือคำนึงถึงโลกทัศน์ของผู้อ่าน

5. แนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ (Process Approach) ครูจะสอนให้นักเรียนให้ความสำคัญ ต่อคำถามที่ว่า วัตถุประสงค์ในการเขียนคืออะไร ใครคือผู้อ่าน จะเขียนอย่างไร จะเริ่มต้นเขียนอย่างไร โดยใน การเขียนนักเรียนจะต้องได้รับข้อมูลย้อนกลับ จากเพื่อนและครูการสอนเขียนแนวนี้จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ แสดงออกซึ่งประสบการณ์ของตนตลอดจนการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยมีครูเป็น ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ในการสอนทักษะเขียนเพื่อการสื่อสารนั้น ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ออกคําสั่ง อธิบาย อ่านให้ฟัง บอกให้จด เปลี่ยนมาเป็นชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียน อำนวยความสะดวก จัดกิจกรรมการเรียนให้แก่ผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมหลายๆ แบบมาประกอบการสอน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้

สรุป จากการที่ได้นำเสนอมาทั้งหมดข้างต้นนั้น ผู้เขียนเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เพื่อ พัฒนาทักษะของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งมีหลายแนวคิดและกลวิธีที่จะช่วยสร้างความคิดที่เป็นระบบให้แก่ครูผู้สอน และพัฒนามโนทัศน์เกี่ยวกับ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อช่วยให้ครูผู้สอนตัดสินใจในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน การเลือก กิจกรรมประกอบการเรียนการสอน การเลือกสื่อการเรียนรู้เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้เรียน ซึ่งจะส่งผลให้ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

           ➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
            ➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
Noi Patcharin  Kanwana
The supervisor 
The Secondary Educational Service Area Office Chiang Mai

Sunday, March 28, 2021

ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ จังหวัดเชียงใหม่ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ระยะที่ 1

 ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ จังหวัดเชียงใหม่

  (Human Capital Excellence Center : HCEC)  

ระยะที่ 1 (ปีการศึกษา 2563)



1.1  หลักการและเหตุผล

        ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ขึ้น ครอบคลุมทั้ง ๗๗ จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดตามสมรรถนะวิชาชีพ และสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของกระทรวงศึกษาธิการตามแผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan : EIDP) โดยมีกระบวนการพัฒนาผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษา เพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Plan : DEEP) เพื่อนำข้อมูลลงใน Big Data ของ กระทรวงศึกษาธิการ และเพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียมอาณาประเทศ นอกจากนี้แล้วยังเป็นศูนย์กลางในการทดสอบ ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy) และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ซึ่งถือว่าเป็น ทักษะพื้นฐานในสมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพครู และรวมไปถึงทักษะอื่น ๆที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนต้อง ได้รับการพัฒนาสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้มีแนวคิดในการตั้งศูนย์พัฒนา ศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) นี้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการ บริหารจัดการและดำเนินการ   ในการให้บริการของครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมไปถึงเป็นศูนย์กลางในการ ทดสอบของทุกจังหวัด เป็นศูนย์กลางในการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบออนไลน์และแบบ ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) และการอบรมพัฒนาด้านอื่น ๆ รวม 185 ศูนย์ โดยใช้ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (English Resources Information Center : ERIC) เดิม ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนประจำ จังหวัดและโรงเรียนประจำอำเภอเป็นที่ตั้งของศูนย์ 

1.2 วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการและดำเนินการในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ตามสมรรถนะวิชาชีพและสมรรถนะใน ศตวรรษที่ 21 ของกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพของครูและบุคลากรการศึกษา

2.2  เพื่อประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จังหวัดเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน

 

 1.3 เป้าหมายในการดำเนินงานของศูนย์HCEC แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1.3.1 ระยะเร่งด่วน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

1) การอบรมพัฒนาและการสอบวัดระดับความสามารถทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy) และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) เป็นแบบออนไลน์สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา

2) เพิ่มระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน (Learning Management System) ใน แพลตฟอร์ม (Digital Education Excellence Platform : DEEP) และเปิดใช้งานในช่วงของการเตรียมการสอน ก่อนเปิดภาคเรียน 2

1.3.2 ระยะกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565

1) การอบรมพัฒนาครูแกนนำ (Core/Master Trainers) ประจำศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความ เป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ทั้งในด้านทักษะภาษาอังกฤษและทักษะด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล

1.3.3 ระยะยาว

1) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)

 

1.4 คำจำกัดความ ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) หมายถึง ศูนย์กลางพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำจังหวัด ตามสมรรถนะวิชาชีพและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของกระทรวงศึกษาธิการตาม แผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan : EIDP) โดยมีกระบวนการพัฒนาทั้งในรูปแบบเผชิญหน้า (Face to Face) และแบบออนไลน์ ผ่าน แพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Plan : DEEP) และเพื่อให้ครูและ บุคลากรทางการศึกษาตามสมรรถนะในศตวรรษที่ 21

 

1.5 ขอบเขตการดำเนินงานของศูนย์ฯ

การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานในฐานะของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้านการเป็นผู้ให้คำปรึกษา และ คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการโดยครอบคลุมตั้งแต่ การศึกษาวิเคราะห์ การออกแบบ การจัดทำแผนการ ดำเนินงานตลอดจนนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้

1.5.1 ศูนย์อบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (Training Center) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ในการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งในด้านสมรรถนะพื้นฐานและสมรรถนะวิชาชีพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) การอบรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ (English Literacy)

2) การอบรมพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)

3) หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency Curriculum Based)

4) การอบรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดแบบมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน (Coding)

5) การอบรมพัฒนาทักษะอื่น ๆที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

 

1.5.2 ศูนย์การทดสอบ (Testing Center) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำ หน้าที่เป็นศูนย์การทดสอบ (Testing Center) โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน          มีรายละเอียดดังนี้

1) ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy)

2) ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)

3) ทักษะอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน เป็นต้น

1.5.3 การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติ (Verification) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำ หน้าที่เป็นศูนย์ในการตรวจสอบรับรองคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้

1) การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติการออกใบประกาศนีบัตรในรูปแบบออนไลน์ (E-Certification)

2) การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติเพื่อใช้ในกำรต่อใบประกอบวิชำชีพครู(Teacher License)

3) การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพและให้มีวิทยฐานะสูงขึ้น

 

1.6 คณะกรรมการบริหารของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) มีรายละเอียดดังนี้

1.6.1 คณะกรรมการบริหารระดับกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่

1) กำหนดนโยบายในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC)

2) สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาสมรรถนะวิชำชีพและสมรรถนะที่จำเป็น

3) สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงาน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน และสำนักงานการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย)

 

1.6.2 คณะกรรมการบริหารระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่

1) ประกาศจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) 

2) จัดทำแนวทางการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) เชื่อมต่อกับ IE เพื่อให้สามารถดำเนินงานตามแนวทางการบริหาร ของศูนย์ฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3) จัดสรรงบประมาณในการอบรมพัฒนาและปรับปรุงพัฒนาศูนย์

4) อบรม พัฒนาบุคลากรประจำศูนย์ฯ และคณะกรรมการระดับศูนย์

5) สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในทุกๆ ด้าน

6) นิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงานของศูนย์ฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

1.6.3 คณะกรรมการบริหารขับเคลื่อนระดับจังหวัด มีหน้าที่

1) เป็นผู้ประสำนงานและรับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

2) ด ำเนินงานและบริหารจัดการศูนย์HCEC ระดับจังหวัด รวมทั้งหาทางแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะ เกิดขึ้นในศูนย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

3) จัดหาทรัพยากรเพื่อใช้ในการดำเนินงานของศูนย์ในระดับจังหวัด 4

4) สรุปและรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ในระดับจังหวัดเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

5) ประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานการศึกษาในท้องถิ่น เช่น มหาวิทยาลัย เป็น ต้น

 

1.6.4 คณะกรรมการดำเนินงานระดับศูนย์มีหน้าที่

1) เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจากคณะกรรมการระดับจังหวัด

2) ดำเนินงาน อำนวยความสะดวกในการจัดทำโครงการ และประสานงานการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้กับศูนย์

3) อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานและโรงเรียนอื่น ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา

4) จัดทำเสนอโครงการ ขออนุมัติโครงการ และประสานงานเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไป ด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ

5) เบิก จ่ายงบประมาณให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ

6) ดำเนินการอบรม พัฒนาภายในศูนย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

7) รวบรวม ประเมินผลการดำเนินการทุกกิจกรรมตามปฏิทินที่กำหนดและรายงานตามลำดับ

8) จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ดูแลระบบเครือข่าย เทคโนโลยีของศูนย์ฯ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

9) นิเทศ กำกับติดตาม ดูแลการดำเนินงานภายในศูนย์

10)รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ เสนอคณะกรรมการระดับจังหวัด

 

1.7 มาตรฐานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดมาตรฐานของศูนย์พัฒนา ศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ดังนี้

1.7.1 เป็นศูนย์ที่สามารถรองรับการการทดสอบตามมาตรฐานสมรรถนะทางวิชาชีพที่มีมาตรฐานระดับสากลได้

1.7.2 เป็นศูนย์ที่รองรับการอบรมพัฒนาสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในรูปแบบการเรียน การสอนแบบเผชิญหน้า (Face to Face) การเรียนการสอนแบบออนไลน์(e-Learning) และรูปแบบการเรียน เสมือนจริง (Virtual Classroom) โดยเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มเพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษา Digital Education Excellence Plan : DEEP) เพื่อนำข้อมูลลงใน Big Data ของกระทรวงศึกษาธิการได้ และเพื่อรองรับ ครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนนักเรียนในทุกสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ

1.7.3 เป็นศูนย์ที่รองรับด้านการอบรมพัฒนาให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดอื่นๆในอนาคต

1.7.4 เป็นศูนย์ให้บริการด้านการอบรม พัฒนา และการทดสอบกับบุคคลทั่วไปในพื้นที่ได้

 

1.8 สถานที่ในการจัดกิจกรรมระยะที่ 1

          โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ 

          โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์  อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ 

          โรงเรียนห้องสอนศึกษา  อำเภอเมือง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

1.5 ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม

          เดือน มิถุนายน - กันยายน พ.ศ. 2563 

 

1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

      1) ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการอบรมพัฒนาและการสอบวัดระดับความสามารถทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy) และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) เป็นแบบออนไลน์

        2) มีระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน (Learning Management System) ในแพลตฟอร์ม (Digital Education Excellence Platform : DEEP)


บทบาทหน้าที่

บทบาทหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ บทบาทของศูนย์พัฒนา ศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ หรือ ศพศ. (Human Capital Excellence Center : HCEC) ซึ่งมี 185 ศูนย์ทั่วประเทศ และบทบาทของศูนย์บริหารงานการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (ศบศ.) (Human Capital Excellence Management Center : HCEMC) บทบาทและหน้าที่ของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) มีบทบาทหน้าที่ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้านการเป็นผู้ให้คำ ปรึกษา และคณะกรรมการพิจารณาดำ เนินการ โดยครอบคลุมตั้งแต่ การศึกษาวิเคราะห์ การออกแบบ การจัดทำ แผนการดำ เนินงาน ตลอดจนนำ ไปสู่การปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ศูนย์อบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (Training Center) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำ หน้าที่เป็น ศูนย์ในการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งในด้านสมรรถนะพื้นฐานและสมรรถนะวิชาชีพ

         2. ศูนย์การทดสอบ (Testing Center) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำ หน้าที่เป็น ศูนย์การทดสอบ (Testing Center) โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
 
         3. การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติ (Verification) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ ในการตรวจสอบรับรองคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ

 คณะกรรมการบริหารขับเคลื่อนระดับจังหวัด มีหน้าที่

1. เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจากสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

2. ดำเนินงานและบริหารจัดการศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ระดับจังหวัด รวมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในศูนย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

3. จัดหาทรัพยากรเพื่อใช้ในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ในระดับจังหวัด

4. สรุปและรายงานผลการดำ เนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ในระดับจังหวัดเสนอต่อสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

5. ประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานการศึกษาในท้องถิ่น เช่น มหาวิทยาลัย เป็นต้

 

คณะกรรมการดำเนินงานระดับศูนย์ มีหน้าที่

1. เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจากคณะกรรมการระดับจังหวัด

2. ดำ เนินงาน อำนวยความสะดวกในการจัดทำ โครงการ และประสานงานการเบิกจ่ายงบประมาณให้กับศูนย์ พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC)

3. อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานและโรงเรียนอื่น ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งระดับประถม ศึกษาและระดับมัธยมศึกษา

4. จัดทำเสนอโครงการ ขออนุมัติโครงการ และประสานงานเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปด้วยความ เรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ

5. เบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ

6. ดำเนินการอบรม พัฒนาภายในศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

7. รวบรวม ประเมินผลการดำ เนินการทุกกิจกรรมตามปฏิทินที่กำ หนดและรายงานตามลำดับ

8. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ดูแลระบบเครือข่าย เทคโนโลยีของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ให้สามารถดำ เนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9. นิเทศ กำกับติดตาม ดูแลการดำเนินงานภายในศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) 10. รายงานผลการดำ เนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) เสนอคณะกรรมการระดับจังหวัด


           ➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
            ➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
Noi Patcharin  Kanwana
The supervisor 
The Secondary Educational Service Area Office Chiang Mai