ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ จังหวัดเชียงใหม่
(Human Capital Excellence Center : HCEC)
ระยะที่ 1 (ปีการศึกษา 2563)
1.1 หลักการและเหตุผล
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ขึ้น ครอบคลุมทั้ง ๗๗ จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดตามสมรรถนะวิชาชีพ และสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของกระทรวงศึกษาธิการตามแผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan : EIDP) โดยมีกระบวนการพัฒนาผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษา เพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Plan : DEEP) เพื่อนำข้อมูลลงใน Big Data ของ กระทรวงศึกษาธิการ และเพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียมอาณาประเทศ นอกจากนี้แล้วยังเป็นศูนย์กลางในการทดสอบ ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy) และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ซึ่งถือว่าเป็น ทักษะพื้นฐานในสมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพครู และรวมไปถึงทักษะอื่น ๆที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนต้อง ได้รับการพัฒนาสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้มีแนวคิดในการตั้งศูนย์พัฒนา ศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) นี้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการ บริหารจัดการและดำเนินการ ในการให้บริการของครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมไปถึงเป็นศูนย์กลางในการ ทดสอบของทุกจังหวัด เป็นศูนย์กลางในการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบออนไลน์และแบบ ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) และการอบรมพัฒนาด้านอื่น ๆ รวม 185 ศูนย์ โดยใช้ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (English Resources Information Center : ERIC) เดิม ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนประจำ จังหวัดและโรงเรียนประจำอำเภอเป็นที่ตั้งของศูนย์
1.2 วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการและดำเนินการในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน
ตามสมรรถนะวิชาชีพและสมรรถนะใน ศตวรรษที่ 21 ของกระทรวงศึกษาธิการ
และเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพของครูและบุคลากรการศึกษา
2.2 เพื่อประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(Human
Capital Excellence Center : HCEC) จังหวัดเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน
1.3.1 ระยะเร่งด่วน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
1) การอบรมพัฒนาและการสอบวัดระดับความสามารถทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English
Literacy) และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) เป็นแบบออนไลน์สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา
2) เพิ่มระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน (Learning Management
System) ใน แพลตฟอร์ม (Digital Education Excellence Platform
: DEEP) และเปิดใช้งานในช่วงของการเตรียมการสอน ก่อนเปิดภาคเรียน
2
1.3.2 ระยะกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565
1) การอบรมพัฒนาครูแกนนำ (Core/Master Trainers) ประจำศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความ
เป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ทั้งในด้านทักษะภาษาอังกฤษและทักษะด้านเทคโนโลยี
ดิจิทัล
1.3.3 ระยะยาว
1) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพ (Professional Learning
Community : PLC)
1.4 คำจำกัดความ ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(Human
Capital Excellence Center : HCEC) หมายถึง ศูนย์กลางพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำจังหวัด
ตามสมรรถนะวิชาชีพและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของกระทรวงศึกษาธิการตาม
แผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development
Plan : EIDP) โดยมีกระบวนการพัฒนาทั้งในรูปแบบเผชิญหน้า (Face
to Face) และแบบออนไลน์ ผ่าน แพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
(Digital Education Excellence Plan : DEEP) และเพื่อให้ครูและ
บุคลากรทางการศึกษาตามสมรรถนะในศตวรรษที่ 21
1.5 ขอบเขตการดำเนินงานของศูนย์ฯ
การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(Human
Capital Excellence Center : HCEC) มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานในฐานะของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ด้านการเป็นผู้ให้คำปรึกษา และ คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการโดยครอบคลุมตั้งแต่ การศึกษาวิเคราะห์
การออกแบบ การจัดทำแผนการ ดำเนินงานตลอดจนนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
1.5.1 ศูนย์อบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (Training Center) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ในการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งในด้านสมรรถนะพื้นฐานและสมรรถนะวิชาชีพ
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) การอบรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
(English
Literacy)
2) การอบรมพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล
(Digital
Literacy)
3)
หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency
Curriculum Based)
4) การอบรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดแบบมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน (Coding)
5) การอบรมพัฒนาทักษะอื่น ๆที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
1.5.2 ศูนย์การทดสอบ (Testing
Center) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human
Capital Excellence Center : HCEC) จะทำ หน้าที่เป็นศูนย์การทดสอบ (Testing
Center) โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน มีรายละเอียดดังนี้
1)
ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English
Literacy)
2) ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
(Digital
Literacy)
3)
ทักษะอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน เป็นต้น
1.5.3 การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติ (Verification) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำ หน้าที่เป็นศูนย์ในการตรวจสอบรับรองคุณสมบัติในด้านต่าง
ๆ มีรายละเอียดดังนี้
1) การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติการออกใบประกาศนีบัตรในรูปแบบออนไลน์
(E-Certification)
2) การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติเพื่อใช้ในกำรต่อใบประกอบวิชำชีพครู(Teacher
License)
3) การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพและให้มีวิทยฐานะสูงขึ้น
1.6 คณะกรรมการบริหารของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital
Excellence Center : HCEC) มีรายละเอียดดังนี้
1.6.1 คณะกรรมการบริหารระดับกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่
1) กำหนดนโยบายในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human
Capital Excellence Center : HCEC)
2) สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาสมรรถนะวิชำชีพและสมรรถนะที่จำเป็น
3) สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงาน
คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และสำนักงานการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย)
1.6.2 คณะกรรมการบริหารระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่
1) ประกาศจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC)
2) จัดทำแนวทางการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(Human Capital Excellence Center : HCEC) เชื่อมต่อกับ IE
เพื่อให้สามารถดำเนินงานตามแนวทางการบริหาร ของศูนย์ฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) จัดสรรงบประมาณในการอบรมพัฒนาและปรับปรุงพัฒนาศูนย์
4) อบรม พัฒนาบุคลากรประจำศูนย์ฯ และคณะกรรมการระดับศูนย์
5) สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในทุกๆ ด้าน
6) นิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงานของศูนย์ฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
1.6.3 คณะกรรมการบริหารขับเคลื่อนระดับจังหวัด มีหน้าที่
1) เป็นผู้ประสำนงานและรับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
2) ด ำเนินงานและบริหารจัดการศูนย์HCEC ระดับจังหวัด
รวมทั้งหาทางแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะ เกิดขึ้นในศูนย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3) จัดหาทรัพยากรเพื่อใช้ในการดำเนินงานของศูนย์ในระดับจังหวัด 4
4) สรุปและรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ในระดับจังหวัดเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
5) ประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานการศึกษาในท้องถิ่น เช่น มหาวิทยาลัย
เป็น ต้น
1.6.4 คณะกรรมการดำเนินงานระดับศูนย์มีหน้าที่
1) เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจากคณะกรรมการระดับจังหวัด
2) ดำเนินงาน อำนวยความสะดวกในการจัดทำโครงการ และประสานงานการเบิกจ่ายงบประมาณ
ให้กับศูนย์
3) อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานและโรงเรียนอื่น ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง
ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
4) จัดทำเสนอโครงการ ขออนุมัติโครงการ และประสานงานเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไป
ด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ
5) เบิก จ่ายงบประมาณให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ
6) ดำเนินการอบรม พัฒนาภายในศูนย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
7) รวบรวม ประเมินผลการดำเนินการทุกกิจกรรมตามปฏิทินที่กำหนดและรายงานตามลำดับ
8) จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ดูแลระบบเครือข่าย เทคโนโลยีของศูนย์ฯ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
9) นิเทศ กำกับติดตาม ดูแลการดำเนินงานภายในศูนย์
10)รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ เสนอคณะกรรมการระดับจังหวัด
1.7 มาตรฐานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital
Excellence Center : HCEC) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดมาตรฐานของศูนย์พัฒนา ศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human
Capital Excellence Center : HCEC) ดังนี้
1.7.1 เป็นศูนย์ที่สามารถรองรับการการทดสอบตามมาตรฐานสมรรถนะทางวิชาชีพที่มีมาตรฐานระดับสากลได้
1.7.2 เป็นศูนย์ที่รองรับการอบรมพัฒนาสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในรูปแบบการเรียน
การสอนแบบเผชิญหน้า (Face
to Face) การเรียนการสอนแบบออนไลน์(e-Learning) และรูปแบบการเรียน เสมือนจริง (Virtual Classroom) โดยเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มเพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษา
Digital Education Excellence Plan : DEEP) เพื่อนำข้อมูลลงใน
Big Data ของกระทรวงศึกษาธิการได้ และเพื่อรองรับ ครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนนักเรียนในทุกสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ
1.7.3 เป็นศูนย์ที่รองรับด้านการอบรมพัฒนาให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดอื่นๆในอนาคต
1.7.4 เป็นศูนย์ให้บริการด้านการอบรม พัฒนา และการทดสอบกับบุคคลทั่วไปในพื้นที่ได้
1.8
สถานที่ในการจัดกิจกรรมระยะที่ 1
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ อำเภอฝาง
จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนห้องสอนศึกษา อำเภอเมือง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
1.5
ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม
เดือน
มิถุนายน - กันยายน พ.ศ. 2563
1.6
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการอบรมพัฒนาและการสอบวัดระดับความสามารถทักษะด้านภาษาอังกฤษ
(English Literacy) และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital
Literacy) เป็นแบบออนไลน์
2) มีระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน
(Learning Management System) ในแพลตฟอร์ม (Digital
Education Excellence Platform : DEEP)
บทบาทหน้าที่
บทบาทหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ บทบาทของศูนย์พัฒนา ศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ หรือ ศพศ. (Human Capital Excellence Center : HCEC) ซึ่งมี 185 ศูนย์ทั่วประเทศ และบทบาทของศูนย์บริหารงานการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (ศบศ.) (Human Capital Excellence Management Center : HCEMC) บทบาทและหน้าที่ของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) มีบทบาทหน้าที่ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้านการเป็นผู้ให้คำ ปรึกษา และคณะกรรมการพิจารณาดำ เนินการ โดยครอบคลุมตั้งแต่ การศึกษาวิเคราะห์ การออกแบบ การจัดทำ แผนการดำ เนินงาน ตลอดจนนำ ไปสู่การปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ศูนย์อบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (Training Center) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำ หน้าที่เป็น ศูนย์ในการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งในด้านสมรรถนะพื้นฐานและสมรรถนะวิชาชีพ
3. การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติ (Verification) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ ในการตรวจสอบรับรองคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ
1. เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจากสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
2. ดำเนินงานและบริหารจัดการศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human
Capital Excellence Center : HCEC) ระดับจังหวัด รวมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในศูนย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3. จัดหาทรัพยากรเพื่อใช้ในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(Human Capital Excellence Center : HCEC) ในระดับจังหวัด
4. สรุปและรายงานผลการดำ เนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(Human Capital Excellence Center : HCEC) ในระดับจังหวัดเสนอต่อสำ
นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. ประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานการศึกษาในท้องถิ่น เช่น
มหาวิทยาลัย เป็นต้น
คณะกรรมการดำเนินงานระดับศูนย์
มีหน้าที่
1.
เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจากคณะกรรมการระดับจังหวัด
2.
ดำ เนินงาน อำนวยความสะดวกในการจัดทำ โครงการ
และประสานงานการเบิกจ่ายงบประมาณให้กับศูนย์ พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human
Capital Excellence Center : HCEC)
3.
อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานและโรงเรียนอื่น ๆ
ในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งระดับประถม ศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
4.
จัดทำเสนอโครงการ ขออนุมัติโครงการ และประสานงานเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปด้วยความ
เรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ
5.
เบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ
6.
ดำเนินการอบรม พัฒนาภายในศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human
Capital Excellence Center : HCEC) ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
7.
รวบรวม ประเมินผลการดำ เนินการทุกกิจกรรมตามปฏิทินที่กำ
หนดและรายงานตามลำดับ
8.
จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ดูแลระบบเครือข่าย
เทคโนโลยีของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital
Excellence Center : HCEC) ให้สามารถดำ
เนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9.
นิเทศ กำกับติดตาม ดูแลการดำเนินงานภายในศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(Human Capital Excellence Center : HCEC) 10. รายงานผลการดำ
เนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital
Excellence Center : HCEC) เสนอคณะกรรมการระดับจังหวัด
No comments:
Post a Comment