Thursday, July 21, 2016

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่่ 21
The 21st Century Learning
โดย ครูพัชรินทร์ กันวะนา
            ปัจจุบันโลกพัฒนาก้าวหน้าหลากหลายด้าน ที่สำคัญคือด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร ได้รับข้อมูลข่าวสาร สะดวกและง่ายขึ้น ส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันของประชาคมโลกเปลี่ยนไป  รวมทั้งในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนและนักเรียน ต้องเป็นปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน เพื่อให้เรียนรู้เท่าทันเหตุการณ์โลกปัจจุบัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
            ลักษณะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21  (21st Century Learner)  สามารถทำเรื่องหรือสิ่งต่างๆ ได้มากกว่า 1 เรื่องหรือ 1 สิ่งในเวลาเดียวกัน (Multitasker -  Person Who Is Able to Do Several Things at One Time)   มีทักษะในเรื่องเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารมาก (มักมากกว่าครูหรือผู้สอน) ใช้ Internet เป็น Universal Source of Information  ชอบแสดงความคิดเห็น และรู้สึกดีหากมีคนฟัง ชอบความมีอิสระในการแสดงออกซึ่งความคิดใหม่ๆ หรือความคิดสร้างสรรค์ (Creative) (Social Media หลากหลายประเภทจึงตรงกับจริต)  ชอบการเรียนรู้ที่สนุกสนาน มีการเคลื่อนไหว มีการโต้ตอบ บริหารจัดการข้อมูลเก่ง ทั้งจัดเก็บและดึงมาใช้   (การเรียนการสอน ศตวรรษที่ 21, ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล) http://engineer.kmitl.ac.th/engineer2015/wp-content/uploads/2015/06/การเรียนการสอนศตวรรษที่21.pdf
             จากการเปลี่ยนแปลงของโลกและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนเปลี่ยนไปดังกล่าว การปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของครูพัชรินทร์  กันวะนาจึงเน้นให้นักเรียนได้นำความรู้มาใช้จริงในชีวิตประจำวัน โดยใช้ทักษะทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ใช้ความคิดสร้างสรรค์  เป็นรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21Authentic Learning  การเรียนรู้ที่แท้จริงโดยอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง  โดยให้นักเรียนได้คิดบทละครภาษาอังกฤษ จากการเรียนรู้สำนวนภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มาร้อยเรียงกันเป็นบทละคร (Skit) นำบทละครที่ได้มาฝึกการพูดภาษาอังกฤษ การแสดงออก การแสดงละครเสมือนจริง  และบันทึกภาพ   วีดีโอ เป็นการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาช่วยจัดทำละคร
           ในการจัดการเรียนรู้ การจัดการห้องเรียนของครูพัชรินทร์  กันวะนา ได้จัดทำอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน มีแผนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนรู้ขั้นตอนการทำงาน ส่งผลให้ผลงานการแสดงละครภาษาอังกฤษเป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน และเพื่อเป็นการบูรณาการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  การใช้เทคโนโลยีมาจัดการ การทำงานเป็นทีม  การเรียนรู้ที่สนุกสนาน ตามการเรียนรู้ที่อยู่ในโลกแห่งชีวิตจริง
Patcharin  Kan

No comments:

Post a Comment