สืบสานงานประเพณีลอยกระทง 2562
(Loy Krathong Festival 2019)
ณ ทะเลสาบดอยเต่า อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562
************
งานแดนดิน ถิ่นล้านนาว่าดอยเต่า เมืองบะเก่าเล่าขาน นานสมัย
ดอยเกิ้งงาม ล้ำค่า กว่าสิ่งใด คนจริงใจ นิสัยงาม
น้ำใจดี
พืชเกษตร เพชรบนดิน
เป็นสินทรัพย์
สร้างรายรับหล่อเลี้ยงคน จนวันนี้
สายน้ำปิง สายใย
สายชีวี คู่วิถี คู่คนดี คู่ดอยเต่า
·
ในการจัดงานสืบสานประเพณีลอยกระทง
และส่งเสริมการท่องเที่ยวทะเลสาบดอยเต่าประจำปี
2562ได้รับความร่วมมือจาก หน่วยงานราชการอำเภอดอยเต่า
ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนอำเภอดอยเต่า
เพื่อสืบสานประเพณีลอยกระทง และส่งเสริมการท่องเที่ยวทะเลสาบดอยเต่า ให้คงอยู่กับชุมชนของเราสืบไป
·
วันนี้ วันจันทร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2562
มีกิจกรรมสนุกสนานรื่นเริงตลอด มีการประกวดนางนพมาศ
ประกวดร้องเพลงพ่อบ้านแม่บ้าน การแข่งขันชกมวยต้านยาเสพติด เพื่อสืบสานประเพณีลอยกระทง และส่งเสริมการท่องเที่ยวทะเลสาบดอยเต่าของเราให้ท่านได้รับชมอย่างสนุกสนาน
--
· ลอยกระทง เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ
เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12
อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง
โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ
เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์
และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันจันทร์ ที่ 11 พฤศจิกายน
2562
การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ
แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง
ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น
ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์,
เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา
ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า
ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา
·
ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่สำคัญ
สืบทอดกันมาแต่โบราณ นิยมทำกันในกลางเดือน ๑๒ โดยมีวัตถุประสงค์หลากหลาย
ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น ซึ่งได้แก่การลอยกระทง เพื่อ
๑. บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
๒. บูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายฝั่งแม่น้ำนัมมทา
๓. ขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่าง แก่มนุษย์
๔. ขอขมาน้ำที่มนุษย์ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำ
๕. เป็นการลอยส่งของแก่ญาติที่อยู่ห่างไกล
๖. ลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์
๗. อธิษฐานของสิ่งที่ตนปรารถนา
๑. บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
๒. บูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายฝั่งแม่น้ำนัมมทา
๓. ขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่าง แก่มนุษย์
๔. ขอขมาน้ำที่มนุษย์ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำ
๕. เป็นการลอยส่งของแก่ญาติที่อยู่ห่างไกล
๖. ลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์
๗. อธิษฐานของสิ่งที่ตนปรารถนา
Loy Krathong and Yee Peng: Two festivals at the same time!
In Northern Thailand and especially Chiang Mai, Loy Krathong is special because it is celebrated together with the Yee (Yi) Peng festival. To be clear: Loy Krathong is about floating lights on the water, Yee Peng is about floating lanterns into the sky. So in Chiang Mai, you can do both! Yee Peng is particular to the Lanna culture of Northern Thailand, and even though Loy Krathong festival sees people release lanterns in the sky in many other places in Thailand, Chiang Mai offers the real deal. Before the festival, the citizens of Chiang Mai decorate their homes, businesses and temples with colorful lanterns.
As with most of the festivals in Thailand, Loy Krathong and Yee Peng are about giving thanks ('merit') and offering praise to Buddha. The festivals are held around the full moon of the 12th month of the Thai lunar calendar. It is believed that at this time the rivers are fullest and the moon is the brightest. Loy Krathong is to give thanks to the spirit of the river and the water it provides. This is done by floating a basket ('Loy Krathong') with a candle, flowers and sometimes money on the river.
Yee Peng's release of lanterns (Khom Loi) into the sky against the bright full moon, the best time of year to give merit to Buddha, symbolizes the leaving of darkness into a bright future. Making wishes to Buddha as you give merit this way is part of the tradition.
➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
Kru Noi Patcharin Kanwana
The English Teacher