แขวนโคม เมืองเหนือ
ณ พุทธสถานดอยกิ่วแล อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
1-3 พฤศจิกายน 2562
***********
โคมไฟกับงานประเพณียี่เป็ง
ถือได้ว่าเป็นของคู่กัน แต่ก่อนชาวล้านนามีโคมไฟใช้ไม่แพร่หลาย
จุดประสงค์ของการใช้สอยของโคมไฟโบราณ
ทำขึ้นเพื่อใช้เป็น
ตะเกียง หรือสิ่งประดิษฐ์ สำหรับจุดไฟให้สว่าง แต่ด้วยเหตุผลที่น้ำมันมีราคาแพง
ประเพณีการจุดโคมไฟแต่เดิมจึงมักมี
เฉพาะในพระราชสำนัก
และบ้านเรือน ของเจ้านายใหญ่โต เท่าที่ผ่านมาชาวล้านนาใช้โคมไฟในฐานะของเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น
ปัจจุบันโคมไฟถูกนำไปใช้อย่างหลากหลาย
เช่น ตกแต่ง โรงแรม รีสอร์ท วัด หรือ สถานที่ราชการ และเอกชน เพื่อความสวยงาม
ดูบรรยากาศสบายๆ
แบบ ล้านนา ซึ่งโคมไฟล้านนาหลากหลายชนิดก็ได้รับความนิยมทั้งใน
และต่างประเทศ ทั้งนี้ในการทำโคมไฟ
ปัจจุบัน
ได้มีการพัฒนา ประยุกต์ตกแต่งให้เกิดความเหมาะสม และความต้องการของลูกค้า โคมไฟที่ใช้ในงานบุญที่พบเห็นอยู่ใน
ภาคเหนือตอนบน
โคมไฟถูกนำมาใช้เพื่อประดับ ตกแต่งอาคารบ้านเรือนเพื่อความสวยงาม
และความเป็นศิริมงคล
แก่เจ้าของบ้าน
ซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่า การจุดโคมไฟนั้น
จะนำความเจริญรุ่งเรืองและความสุขมาให้กับตนและครอบครัวต่อไป
โคมมีใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อใช้ประดับตกแต่งและให้แสงสว่างตามบ้านเรือน
ทางเดิน ซึ่งในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีไฟฟ้า
ในทางความเชื่อเกี่ยวกับการถวายโคมจะทำเมื่อหลังออกพรรษาใกล้กับเทศกาล #ยี่เป็ง
หรืองานลอยกระทงของทางภาคเหนือนั่นเองสำหรับประเพณีการแขวนโคมของภาคเหนือก็เพื่อบูชาไฟ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ที่เราเคารพนับถือเสมือนให้ไฟช่วยนำทางสว่างและให้โคมช่วยป้องกันมิให้ไฟในโคมนั้นดับเปรียบดั่งมีสิ่งคุ้มครองผู้แขวนบูชานั่นเอง
ความสำคัญของโคม
โคมไฟ หรือ โคมแขวน เป็นงานหัถตกรรมพื้้นบ้าน
ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่สืบต่อจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือ
ซึ่งชาวล้านนาใช้ในงานประเพณียี่เป็ง
พึงสักการะบูชาพระพุทธเจ้า คืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (ยี่เป็งล้านนา) ถือว่าเมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้ว
และประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข
ประเภทของโคม
มี 4 ประเภท
1. โคมถือ หรือ โคมหูกระต่าย
2. โคมลอย
3. โคมแขวน
4. โคมผัด
โคมแขวน เป็น
โคมบูชาพระมีหลายรูปแบบ รูปทรง เช่น โคมบาตรพระ โคมดาว โคมตะกร้า โคมต้องห้อยพู่ โคมพระอาทิตย์
โคมธรรมจักร ซึ่งหมายถึง
"ความแจ้งในธรรม" จะใช้ในงานยี่เป็งหรือวันตั้งธรรมมหาชาติเวสสันดรชาดก
ใช้แขวนไว้ในโบสถ์ บนศาลา ในวิหาร
หรือทำค้างไม้ไผ่ทำชักรอกแขวนข้างโบสถ์ วิหารเป็นพุทธบูชา สวยงาม สว่างไสว
หรือใช้ตกแต่งบ้านเรือน เพื่อบูชาเทพารักษ์ ผู้รักษาหอเรือน อาคารบ้านเรือน
โคมแขวน
หรือ โคมค้าง
ได้แก่ โคมที่ใช้แขวนบนหลัก หรือตามขื่อในวิหาร หรือโบสถ์มีรูปร่างต่างๆ
แล้วแต่จะทำกันผู้ที่นิยมทำกันมากคือ พระภิกษุสามเณร
จะแข่งขันกันว่าใครจะทำสวยกว่า
- สำหรับงานเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก และประเพณีแขวนโคมตำบลดอยเต่า ประจำปี
2562 ณ
พุทธสถานดอยกิ่วแล บ้านไร่
ตำบลดอยเต่า อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2562
- ทั้งนี้เพื่อแขวนโคมขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข
- ซึ่งภายในงานได้จัดพิธีทางศาสนา การเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก แขวนโคมขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง การประกวดแฟชั่นโชว์ ด้วยชุดขยะรีไซเคิล และการประกวดรำวงย้อนยุค
***วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 การเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก แขวนโคมขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง
***วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 การเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก แขวนโคมขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิต
เจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข การประกวดแฟชั่นโชว์
***วันที่ 3 พฤศจิกายน 2562 การเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก แขวนโคมขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข การประกวดรำวงย้อนยุค
การประกวดเดินแบบรีไซเคิล
การประกวดร้องเพลงพ่อบ้าน แม่บ้าน
มอบรางวัลการประกวดร้องเพลงพ่อบ้าน แม่บ้าน
การประกวดร้องเพลงพ่อบ้าน แม่บ้าน
การประกวดร้องเพลงพ่อบ้าน แม่บ้าน
การประกวดเดินแบบรีไซเคิล
ผู้เข้าประกวดรำวงย้อนยุค
จุดเช็คอิน สวรรค์บนดิน เช็คอินบนดอย
การประกวดรำวงย้อนยุค
โคมแขวน
การประกวดรำวงย้อนยุค
จุดเช็คอิน สวรรค์บนดิน เช็คอินบนดอย
การประกวดรำวงย้อนยุค
มอบของรางวัล
การประกวดรำวงย้อนยุค
สัมภาษณ์คณะกรรมการจัดงานแขวนโคม
สัมภาษณ์คณะกรรมการจัดงานแขวนโคม
พิธีกรงานแขวนโคม
สัมภาษณ์คณะกรรมการจัดงานแขวนโคม
การประกวดเดินแบบรีไซเคิล
➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
Kru Noi Patcharin Kanwana
The English Teacher
No comments:
Post a Comment