สวัสดีค่ะ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด เราควรเปลี่ยนให้ทุกๆที่ ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้ยังต้องดำเนินอยู่แม้นักเรียนไม่สามารถไปโรงเรียนตามปกติ ในหลายประเทศที่ประกาศมาตรการปิดโรงเรียน
รัฐบาลมักจะออกมาตรการด้านการเรียนรู้ มารองรับ ด้วยการเรียนทางไกลรูปแบบต่างๆ
โดยพิจารณาจากเงื่อนไขความพร้อมด้านอุปกรณ์ ความพร้อมของ ผู้ปกครอง และความพร้อมตามช่วงวัยของผู้เรียน สำหรับประเทศไทย เป็นการ
“เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส” ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ดีกว่าเดิม ดังนั้นมาตรการ การเรียนรู้ของไทยจึงไม่ควรปรับแค่กระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน
แต่ต้องปรับใหญ่ทั้งระบบการเรียนรู้ ที่ต้องสอดคล้องกันและเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของผู้เรียน
ปัจจุบันสถานศึกษา
ผู้สอน ผู้เรียน สามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ
ที่มีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยจัดการเรียนการสอนให้สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาใช้อย่าง มีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งในด้านการจัดการชั้นเรียนของผู้สอน ความสะดวกสบายในการเข้าถึงความรู้ของผู้เรียน
เครื่องมือที่ช่วยจัดการชั้นเรียน เช่น
Edmodo, Socrative, MoodleMobile, Student Organizer และ
Google Apps for education
Google
Apps for education เป็นชุดเครื่องมือจัดการเรียนการสอนที่
google อนุญาตให้โรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานด้านการศึกษา
ใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถจัดการ การเรียนรู้แบบทำงานร่วมกันได้ทุกที่ทุกเวลา
เครื่องมือเหล่านี้ เช่น Gmail Docs
Calendar Drive นอกจากนี้ Google ยังได้พัฒนา
Google Classroom ที่ช่วยผู้สอนในการจัดการชั้นเรียน
เช่น สร้างงาน เก็บงาน ติดตามกำหนดการส่งงาน แสดงความคิดเห็น
ตรวจสอบการส่งงานและคะแนน
Google Classroom เป็นบริการสำหรับ
Google Apps for Education ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพ
ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้สอนสามารถสร้างและเก็บงานได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลือง
กระดาษ มีคุณลักษณะที่ช่วยประหยัดเวลา เช่น สามารถทำสำเนาของ Google เอกสารสำหรับผู้เรียนแต่ละ คนได้โดยอัตโนมัติ
โดยระบบจะสร้างโฟลเดอร์ของไดร์สำหรับแต่ละงานและผู้เรียนแต่ละคนเพื่อช่วยจัด ระเบียบให้ผู้เรียนสามารถติดตามว่ามีอะไรครบกำหนดบ้างในหน้างาน
และเริ่มทำงานได้ด้วยการคลิกเพียง ครั้งเดียว
ผู้สอนสามารถดูได้อย่างรวดเร็วว่าใครทำงานเสร็จหรือไม่เสร็จบ้าง
ตลอดจนสามารถแสดงความ คิดเห็นและให้คะแนนโดยตรงได้แบบเรียลไทม์ใน Google
Classroom (อ้างใน :
คู่มือการใช้งาน Google Classroom, Teaching and Learning
Innovation : http://www.edu.tsu.ac.th/ptu/file/Google-Classroom.pdf
: 10 พ.ค. 2563)
Google Classroom เป็นหนึ่งใน Google
Apps ที่รวบรวมบริการที่สําคัญต่างๆ
เข้าด้วยกันเพื่อสนับสนุนธุรกิจ โรงเรียน และสถาบันต่างๆ ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Google ได้อย่างหลากหลาย
“Google Classroom ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ครูสร้างและลดกระดาษในการจัดเก็บ
รวมทั้งคุณสมบัติที่ช่วยประหยัดเวลา เช่น ความสามารถในการสำเนาเอกสาร Google ให้กับนักเรียนแต่ละคน
นอกจากนี้ยังสร้างโฟลเดอร์สำหรับแต่ละบุคคลที่ได้รับมอบหมาย
นักเรียนสามารถติดตามงาน ที่ได้จากการกำหนดบนหน้าและเริ่มต้นการทำงาน
ด้วยเพียงไม่กี่คลิก ครูสามารถติดตามการทำงานว่าใครยังไม่เสร็จให้ตรงตามเวลา
ยังสามารถแสดงความคิดเห็นแบบเรียลไทม์ และผลการเรียนในชั้นเรียน” (อ้างใน : Google Apps for Education : http://www.techno.lru.ac.th/techno/google-classroom-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/:
10 พ.ค. 2563)
Google Classroom จะรวมเอาบริการของ Google
ที่มีอยู่ อย่าง Drive, Docs และ Gmail
เข้ามารวมไว้ด้วยกัน และนำเสนอออกมาเป็นระบบเดียวแบบครบวงจร
เพื่อเป็นเครื่องมือให้ อาจารย์ผู้สอนได้สามารถใช้ประโยชน์ในการสั่งงานและเก็บรวบรวมผลงานต่างๆของลูกศิษย์
อีกทั้งยังจะช่วยให้นักศึกษาสามารถส่งงานได้ทันทีผ่านทางออนไลน์ ในขณะที่ อาจารย์ผู้สอนเองก็สามารถตรวจการบ้าน
พร้อมให้ข้อเสนอแนะแบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย โดย อาจารย์ผู้สอนสามารถสร้างหน้าห้องเรียนขึ้นมา
และเพิ่มนักเรียนของตนเข้าไปได้เอง หรือจะแชร์โค้ดให้กับกลุ่มนักเรียน เพื่อให้พวกเขาทำการแอดตัวเองเข้ามาก็ได้ (อ้างใน :
การใช้งาน Google
Classroom ของศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี :
http://web.sut.ac.th/g/index.php/documentation/google-classroom : 10 พ.ค. 2563)
สรุปได้ว่า “Google Classroom”
เป็นหนึ่งใน Google Apps ที่บริการสำหรับ
Google Apps for Education เช่น Drive, Docs และ Gmail
เข้ามารวมไว้ด้วยกัน และนำเสนอออกมาเป็นระบบเดียวแบบครบวงจร ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพ ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้สอนสามารถสร้างและเก็บงานได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลือง
กระดาษ มีคุณลักษณะที่ช่วยประหยัดเวลา สามารถใช้ประโยชน์ในการสั่งงานและเก็บรวบรวมผลงานต่าง ๆของลูกศิษย์
อีกทั้งยังจะช่วยให้นักศึกษาสามารถส่งงานได้ทันทีผ่านทางออนไลน์
2. ประโยชน์ของการใช้งาน Google Classroom
1. ตั้งค่าได้ง่ายดาย
ผู้สอนสามารถเพิ่มผู้เรียนได้โดยตรง หรือแชร์รหัสเพื่อให้ผู้เรียนเข้าชั้นเรียนได้
การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครู่เดียว
2. ประหยัดเวลา กระบวนการของงานเรียบง่าย
ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ท าให้ผู้สอนสร้าง ตรวจ และ ให้คะแนนงานได้อย่างรวดเร็วในที่เดี่ยวกัน
3. ช่วยจัดระเบียบ
ผู้เรียนสามารถดูงานทั้งหมดของตนเองได้ในหน้างาน และเนื้อหาสำหรับชั้นเรียน ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บในโฟลเดอร์ภายใน
Google ไดรฟ์โดยอัตโนมัติ
4. สื่อสารกันได้ดียิ่งขึ้น Classroom ท าให้ผู้สอนสามารถส่งประกาศและเริ่มการพูดคุยในชั้นเรียนได้ ทันที
ผู้เรียนสามารถแชร์แหล่งข้อมูลกันหรือตอบคาถามในสตรีมได้
5. ประหยัดและปลอดภัย เช่นเดียวกับบริการอื่นๆ ของ Google
Apps for Education คือ Classroom จะไม่แสดงโฆษณา
ไม่ใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของผู้เรียนในการโฆษณา และให้บริการฟรีสำหรับ มหาวิทยาลัย
(อ้างใน : คู่มือการใช้งาน Google
Classroom, Teaching and Learning Innovation : http://www.edu.tsu.ac.th/ptu/file/Google-Classroom.pdf
: 10 พ.ค. 2563)
1. ครูผู้สอนสร้างห้องเรียนออนไลน์ของวิชานั้น ๆ
ขึ้นมา
2. เพิ่มรายชื่อนักศึกษาจากบัญชีของกูเกิลเข้ามาอยู่ในห้องเรียน
3. อาจารย์สามารถนำรหัสผ่านให้นักศึกษานำไปกรอกเพื่อเข้าห้องเรียนเองได้
4. อาจารย์ตั้งโจทย์การบ้านให้นักเรียนทำ
โดยสามารถแนบไฟล์และกำหนดวันส่งการบ้านได้
5. นักเรียนเข้ามาทำการบ้านใน Google
Docs และส่งเข้า Google Drive ของอาจารย์
7. อาจารย์สามารถเข้ามาดูจำนวนนักศึกษาที่ส่งการบ้านภายในกำหนดแล้วและยังไม่ได้ส่งได้
8. อาจารย์ตรวจการบ้านของนักศึกษาแต่ละคน
พร้อมทั้งให้คะแนนและคำติชม
(อ้างใน : การใช้งาน Google Classroom ของศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
: http://web.sut.ac.th/g/index.php/documentation/google-classroom : 10 พ.ค. 2563)
1. เตรียมการได้ง่าย ครูสามารถเพิ่มนักเรียนได้โดยตรงหรือแชร์รหัสเพื่อให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนได้
การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครูเดียว ผ่านบัญชีอีเมล์ Google Apps for Education
2.
ประหยัดเวลา กระบวนการมอบหมายงานเรียบง่าย
ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ทำให้ครูสร้าง ตรวจ และให้เกรดงานได้ในที่เดียวกัน
3.
ช่วยจัดระเบียบนักเรียน สามารถดูงานทั้งหมดของตนเองได้ในหน้างาน
และเนื้อหาสำหรับชั้นเรียนทั้งหมดจะจัดเก็บอยู่ในโฟลเดอร์ภายใน Google ไดรฟ์โดยอัตโนมัติ
4. สื่อสารกันได้ดีขึ้น Classroom ทำให้ครูส่งประกาศและเริ่มการพูดคุยในชั้นเรียนได้ทันที
นักเรียนสามารถแชร์แหล่งข้อมูลกันหรือตอบคำถามในสตรีมได้
5. ประหยัดและปลอดภัย Google Classroom ไม่มีโฆษณา
ไม่ใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของนักเรียนในการโฆษณา และให้บริการฟรีสำหรับโรงเรียน
6. ใช้ได้ทุกอุปกรณ์ สามารถเข้าถึง Google Classroom ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์
6. ใช้ได้ทุกอุปกรณ์ สามารถเข้าถึง Google Classroom ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์
(อ้างใน : Google
Apps for Education : http://www.techno.lru.ac.th/techno/google-classroom-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/:
10 พ.ค. 2563)
สรุปได้ว่า ประโยชน์ของการใช้งาน
Google Classroom มีดังต่อไปนี้
1. เตรียมการได้ง่าย ครูสามารถเพิ่มนักเรียนได้โดยตรงหรือแชร์รหัสเพื่อให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนได้
การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครูเดียว ผ่านบัญชีอีเมล์ Google Apps for Education
2.
ประหยัดเวลา กระบวนการมอบหมายงานเรียบง่าย ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ทำให้ครูสร้าง ตรวจ
และให้เกรดงานได้ในที่เดียวกัน
3.
ช่วยจัดระเบียบนักเรียน สามารถดูงานทั้งหมดของตนเองได้ในหน้างาน
และเนื้อหาสำหรับชั้นเรียนทั้งหมดจะจัดเก็บอยู่ในโฟลเดอร์ภายใน Google ไดรฟ์โดยอัตโนมัติ
4. สื่อสารกันได้ดีขึ้น Classroom ทำให้ครูส่งประกาศและเริ่มการพูดคุยในชั้นเรียนได้ทันที
นักเรียนสามารถแชร์แหล่งข้อมูลกันหรือตอบคำถามในสตรีมได้
5. ประหยัดและปลอดภัย Google Classroom ไม่มีโฆษณา
ไม่ใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของนักเรียนในการโฆษณา และให้บริการฟรีสำหรับโรงเรียน
6. ใช้ได้ทุกอุปกรณ์ สามารถเข้าถึง Google Classroom ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์
6. ใช้ได้ทุกอุปกรณ์ สามารถเข้าถึง Google Classroom ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์
ขั้นตอนการสร้างชั้นเรียน
1. เข้าสู่ระบบของ Google
Classroom ที่ https://classroom.google.com/
2. สำหรับการใช้งาน Google
Classroom ในครั้งแรก เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว จ
าเป็นต้องเลือกบทบาทในการใช้งาน Google Classroom
3. คลิกเครื่องหมาย +
ที่บริเวณด้านมุมขวา
4. หลังจากนั้นให้ เลือกสร้างชั้นเรียน
(Create Class)
5. กรอก ข้อมูล ในการสร้างชั้นเรียน ช่อง
ชื่อชั้นเรียน (Class name) : กรอกชื่อชั้นเรียน ช่อง ห้อง (Section)
: ให้กรอกรายละเอียดสั้นๆ ลงในห้อง ยกตัวอย่างเช่น ชั้นเรียน
ระดับชั้นปี หรือเวลาเรียน เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จ ให้คลิกเลือกที่ สร้าง (Create)
หน้าจอการท
างานของ Google Classroom
1 : ชื่อรายวิชา
2 : ชื่อผู้สอน
3 : เมนูการใช้งานของอาจารย์และนักศึกษา
4 : ส่วนสำหรับประกาศ และมอบหมายงาน
5 : การแจ้งเตือนงานใกล้หมดเวลา
6 : หัวข้อที่ใช้ในการเรียนการสอน
7 : แสดงประวัติการสอน หมายเลข 8 : การจัดการลักษณะหน้าตาของชั้นเรียน
6.
การจัดการข้อมูลทั่วไปของชั้นเรียน เมื่ออาจารย์ได้สร้างชั้นเรียนเรียบร้อยแล้ว
สามารถจะจัดการข้อมูลทั่วไปของชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาได้ที่ หน้าทรัพยากร (Resource
page)
7.
ขั้นตอนการจัดการข้อมูลทั่วไปของชั้นเรียน
1. เข้าสู่ระบบของ Google Classroom ที่ https://classroom.google.com/
2. เลือกชั้นเรียนที่อาจารย์ต้องการจะจัดสรรทรัพยากร
3. ที่บริเวณส่วนบนของหน้าเว็บ คลิกเลือกที่ เกี่ยวกับ (About) อาจารย์สามารถเพิ่มรายละเอียดส าหรับหน้า เช่น ชื่อ และค าอธิบายชั้นเรียนโดยการวางเมาส์เหนือเขตข้อมูลเหล่านั้น
1 : ชื่อข้อมูลชั้นเรียน (Title)
2 : ใส่คำอธิบายชั้นเรียน (Class description)
3 : ใส่รายละเอียดของสถานที่จัดการเรียนการสอนที่เขตข้อมูลนี้
4 : แสดงชื่อโฟลเดอร์บนไดรฟ์ที่จะถูกสร้างโดยอัตโนมัติ
ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
5 : สามารถดูปฏิทินของชั้นเรียนได้
6 : สามารถเปิด Google Calendar ได้
8.
อาจารย์สามารถเพิ่มทรัพยากรเข้าไปในชั้นเรียนได้
โดยเลือกที่ เพิ่มเนื้อหา (Add materials) ให้ท าการใส่ รายละเอียดกับทรัพยากรที่ต้องการจะนำเข้าในชั้นเรียน
1 : รายละเอียดชื่อของทรัพยากรที่ต้องการนำเข้าชั้นเรียน สำหรับทรัพยากรที่สามารถนำเข้ามาใช้
กับ Google Classroom ประกอบด้วย
2 : นำเข้าโดยการอัพโหลดไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์
3 : นำเข้าไฟล์จากกูเกิลไดรฟ์
4 : แชร์ไฟล์จากบริการวิดิโอออนไลน์ (YouTube)
5 : ข้อมูลจากเว็บไซต์ โดยระบุเป็น URL
9.
การเปลี่ยนธีมของชั้นเรียน ในการเลือกรูปภาพและธีม
ให้ท าดังนี้
1. เปิดชั้นเรียนและคลิกเลือกธีม (Select theme)
2. เลือกแกลเลอรีและรูปแบบที่ต้องการใช้งาน
กรณีที่ต้องการใช้อัปโหลดรูปเพื่อจะสร้างเป็นธีมของตัวเอง
1.
เปิดชั้นเรียนและคลิกเลือกอัปโหลดรูปภาพ
(Upload photo)
2.
ลากรูปภาพหรือเลือกรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ของท่าน
1 : ลากรูปภาพที่ต้องการมาวางเพื่อเปลี่ยนรูปภาพ
2 : คลิกและเลือกรูปภาพที่ต้องการจากคอมพิวเตอร์ของท่าน
10. การเปลี่ยนชื่อชั้นเรียน
1. สามารถเปลี่ยนชื่อชั้นเรียนโดยกดที่ไข่ปลาหมายเลข 1 และกดที่เปลี่ยนชื่อ
(Rename) หมายเลข 2
2.
กรอกชื่อชั้นเรียน (Class name) และห้อง (Section) ใหม่เข้าไปและบันทึก
11. การจัดการชั้นเรียน
เมื่อจบปีการศึกษาหรือภาคเรียน
อาจารย์อาจจะต้องการเก็บชั้นเรียนเพื่อเก็บเนื้อหาที่ใช้ในชั้นเรียน งานและการโพสต์ในสตรีมของชั้นเรียน
อาจารย์ยังสามารถเข้าถึงไฟล์ของชั้นเรียนใน Google ไดรฟ์ได้แต่ชั้นเรียนที่
เก็บจะถูกย้ายไปยังพื้นที่แยกต่างหาก เพื่อช่วยให้อาจารย์เก็บชั้นเรียนได้อย่างเป็นระเบียบ
อาจารย์และนักศึกษาในชั้น เรียนสามารถดูชั้นเรียนที่เก็บได้
แต่เมื่อเก็บชั้นเรียนแล้ว
อาจารย์จะไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มข้อมูลลงไปในชั้นเรียนได้ อีก
1. ลงชื่อเข้าใช้Classroom ที่ https://classroom.google.com/
2. เลือกที่ไขปลาหมายเลข 1 และเลือกเก็บ (Archive)
หมายเลข 2 เพื่อเก็บข้อมูลชั้นเรียน
3. คลิกเก็บ (Archive) เพื่อยืนยันการเก็บชั้นเรียน
12. การจัดการห้องเรียนเรื่องอื่นๆ สามารถดูได้จากหลากหลายแหล่งเรียนรู้ ดังนี้
“Where there’s a will, there’s a way.”
คำแปล : ถ้ามีความตั้งใจ
ย่อมมีหนทาง
สุภาษิตไทย : ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น
สุภาษิตไทย : ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น
“Actions speak louder than words.”
คำแปล :
การกระทำพูดดังกว่าคำพูด
สุภาษิตไทย : ตัวอย่างที่มีค่าดีกว่าคำสอน
สุภาษิตไทย : ตัวอย่างที่มีค่าดีกว่าคำสอน
“Never put off till tomorrow what you can do today.”
คำแปล :
อย่าเลื่อนจนถึงพรุ่งนี้ ในสิ่งที่คุณทำได้ในวันนี้
สุภาษิตไทย : อย่าผัดวันประกันพรุ่ง
สุภาษิตไทย : อย่าผัดวันประกันพรุ่ง
➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
Kru Noi
Patcharin Kanwana
The Supervisor
The Secondary
Educational Service Area Office 34 (Chiang Mai – Mae Hong Son)
No comments:
Post a Comment