Thursday, November 4, 2021

คุณภาพผู้เรียนตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR)

 คุณภาพผู้เรียนตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษา

ของสหภาพยุโรป

The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR)


         ภาษาอังกฤษถือว่าเป็นทักษะที่สําคัญแห่งศตวรรษที่ 21 และเป็นเครื่องมือที่สําคัญในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ ในปัจจุบัน   โดยที่องค์ความรู้ที่สําคัญ ของโลกส่วนใหญ่ถูกบันทึกและเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ จึงมีความจําเป็นที่จะต้องจัดให้มีการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป้นเครื่องมือเข้าถึงองค์ความรู้และก้าวทันโลก รวมถึงพัฒนาตนเองเพื่อนําไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และเพื่อ ให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) เทียบเคียง กับคุณภาพผู้เรียนที่ได้กําหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีรายละเอียดดังต้อไปนี้
        กรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) คือ มาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษา ที่สหภาพยุโรปจัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน และการประเมิน ภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศปัจจุบันกรอบอ้างอิงนี้ (CEFR) ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นมาตรฐานในการจัดลําดับความสามารถทางภาษาของแต่ละบุคคล CEFR ได้จําแนกผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่มหลัก และแบ่งเป็น 6 ระดับความสามารถ ดังนี้
                                1.  Level Group A    Basic User  ผู้ใช้ภาษาขั้นพื้นฐาน   ได้แก่ 
                                        A1  Beginner (Breakthough)
                                        A2  Elementory  (Waystage)
                                2. Level Group B  Independent User ผู้ใช้ภาษาขั้นอิสระ  ได้แก่
                                        B1  Intermediate (Threshold)
                                        B2  Upper Intermediate (Vantage)
                                3. Level Group C  Proficient User  ผู้ใช้ภาษาขั้นคล่องแคล่ว  ได้แก่
                                        C1  Advance  (Effective Operational Proficiency)
                                        C2  Proficiency  (Mastery) 

            การใช้ CEFR เป็นกรอบความคิดหลักในการเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ / การพัฒนา โดยใช้ ระดับความสามารถ 6 ระดับของ CEFR เป็นเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับ ทั้งนี้ ในเบื้องต้น กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดเป้าหมายการพัฒนาระดับความสามารถทางภาษาของผู้เรียนในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี


คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่


➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤

Change the world by being yourself.
เปลี่ยนโลกด้วยการเป็นตัวของตัวเอง

Every moment is a fresh beginning.

ทุกช่วงเวลาคือการเริ่มต้นใหม่

Never regret anything that made you smile.

อย่าเสียใจกับสิ่งที่ทำให้คุณยิ้ม

➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤


Kru Noi Patcharin  Kanwana
The Educational Supervisor
The Secondary Educational Service Area Office Chiang Mai




No comments:

Post a Comment