Monday, January 30, 2017

Present Perfect Tense

รูปประโยค    
Subject + have,has + Verb3 + Object 

1.เราใช้  Tense นี้ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและดำเนินมาถึงปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะ  ดำเนินต่อไปอีกมักจะเห็นคำว่า since กับ for อยู่ด้วย
2.เราใช้  Tense นี้บอกการกระทำที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในอดีต  ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
3.เราใช้  Tense นี้บอกการกระทำที่เพิ่งเกิดขึ้น  หริเพิ่งเสร็จก่อนเวลาพูดไม่นานนัก

การใช้ since กับ for
since = starting of period (เวลาตั้งแต่จุดใดจุดหนึ่งในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน)
since 1990, since May, since Monday, since Christmas since 3 o'clock, since I was a student               
for = period of time (ระยะเวลาจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน)
for 2 days, for 5 months, for 1 year, for 3 hours, for a week, for 30 minutes, for a long time, for ages


ASEAN PLUS THREE

ASEAN PLUS THREE

Association of Southeast Asian Nations Plus Three (ASEAN+3) cooperation on energy, transport, and information & communications technology

SEAN+3 cooperation began in December 1997 and institutionalized in 1999 when the Leaders issued a Joint Statement on East Asia Cooperation at their Third ASEAN+3 Summit in Manila. The ASEAN+3 leaders expressed greater resolve and confidence in further strengthening and deepening East Asia cooperation at various levels and in various areas, including energy, transport, and information and communications technology (ICT). ASEAN agreed to strengthen partnership with the People’s Republic of China (PRC), the Republic of Korea (Korea) and Japan to address mutual issues and concerns in energy security, natural gas development, oil market studies, oil stockpiling, and renewable energy.

https://aric.adb.org/initiative/association-of-southeast-asian-nations-plus-three-cooperation-on-energy-transport-and-information-communications-technology


Why do you want teaching English?

English for ASEAN Community


Meaning of ASEAN
ASEAN or Association of Southeast Asian Nations is an organization of member countries located in the Southeast Asia Region.

อาเซียนมีชื่อเป็นทางการว่าสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นองค์การทางภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


A:  Complete the words for the Meaning of ASEAN. 

1.    As__oci__ti__n           =          สมาคม

2.    S__ __ __h                  =          ทิศใต้  

3.    E__ __ __                   =          ทิศตะวันออก

4.    __si__ __                     =          ชาวเอเชีย

5.    __ a__ io__s                =          ชาติ



B:  Match the letter with the correct word.    

6.    A =________                         a.  East                         f.  Social

7.    S =________                           b.  Asian                      g.  Nationality

8.    E  =________                          c.  South

9.    A =________                         d.  Nations
                  10.N =________                          e.  Association

ผลงานการแสดงละครของนักเรียน

ผลงานการแสดงละครของนักเรียน2559

1.  "Love Secret"


2.  "Friends Day"


3.  “My Beautiful Dream”
                              
4.  Friendship can not be redrawn. (มิตรภาพที่ไม่อาจลบเลือน )”
                            
5. "A Perfect guy and a girl"


6.  "Angie"




Wednesday, January 25, 2017

ผลงานการร้องเพลงของนักเรียน 1

Entertainment 1











ข้อมูลเพิ่มเติม ฝึกฟังและร้องเพลงภาษาอังกฤษ


My love by West life



Pretty boy by m2m



The day you went away by m2m



The sound of silence by By Simon & Garfunken




                                 Cranberries Zombie


Tuesday, January 24, 2017

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ระดับชาติ ครูพัชรินทร์ กันวะนา (ตอน ๓)

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ระดับชาติ 
ครูพัชรินทร์  กันวะนา  (ตอน ๓)
*********************

การประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่ ๑ คุณลักษณะของครูและการจัดการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัดที่ ๓ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                   ๓.๑ จัดกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติของแต่ละวิชา
ผู้รายงานจัดกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติชองภาษาอังกฤษ เป็นการเรียนรู้ที่
มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด มีสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามจุดหมายของหลักสูตร  และสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข เรียนรู้ได้อย่างเต็มความสามารถ โดยมีกิจกรรมที่หลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีการวัดผล ประเมินผลที่ถูกต้องและหลากหลาย

                   ๓.๒ จัดกิจกรรมให้ครบถ้วนตามธรรมชาติวิชา และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเน้นให้ฝึกทักษะและกระบวนการคิด
ผู้รายงานวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อใช้ในการวางแผนการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้และนำไปพัฒนาผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นให้มีใช้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เช่น กระบวนการคิดการจัดทำโครงงานภาษาอังกฤษ  การคิดบทละครและแสดงละครภาษาอังกฤษโดยบันทึกเป็นวีดีโอ  การพัฒนาแบบฝึก เรื่อง ประชาคมอาเซียน เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๔ เป็นต้น

.๓ จัดกิจกรรมหลากหลายวิธี และเหมาะสมกับผู้เรียน
ผู้รายงานจัดกิจกรรมการเรียนการรู้ภาษาอังกฤษจากการปฏิบัติ การสื่อสารทั้งการฟัง พูด
อ่าน เขียน และมีการประเมินผลงานจากการปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการสื่อสาร กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม กระบวนการทำงาน มีชิ้นงานและพัฒนางานด้วย ความคิดใหม่ ๆ จนเกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยได้กำหนดภาระงาน  กิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ มีดังนี้
-  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน
-  ฝึกการฟัง พูด จากสื่อออนไลน์ อินเตอร์เน็ต เช่น Youtube, DLIT, Echo English เป็นต้น
-  เรียนรู้ภาษาด้วยโครงงานภาษาอังกฤษแล้วนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ
-  ฝึกทักษะภาษาอังกฤษการแสดงละคร โดยการให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ เน้นการมีส่วนร่วมของ
ทุกคนในกลุ่ม จัดทำบทละคร แสดงละครด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดทำ
-  การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อม
บันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ
- การสัมภาษณ์เจ้าของภาษา (ชาวต่างประเทศที่มาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านของนักเรียน หรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้) แล้วบันทึกข้อมูลด้วยเทคโนโลยี



.๔ ใช้สื่อการเรียนรู้เหมาะสมกับเนื้อหา และผู้เรียน
                สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้  ผู้รายงาน
จึงได้มีการจัดทำสื่อ พัฒนา และเลือกใช้สื่อที่ดีและมีประสิทธิภาพเหมาะสมตามความแตกต่างของผู้เรียน โดยจัดให้มีแหล่งการเรียนรู้ ระบบสารสนเทศ และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้และศักยภาพของผู้เรียน  ทั้งนี้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจำเป็นต้องมีการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน  ซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยสำเนียงของเจ้าของภาษา  การเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ดังนั้นผู้รายงานจึงใช้สื่อผสมหลากหลายแหล่งเช่น จากหนังสือเรียน My World, Compass, Goals และอื่นๆ  รวมทั้งจากอินเตอร์เน็ต สื่อออนไลน์ สื่อสำเร็จรูป ซีดีพร้อมหนังสือ  รวมทั้งสื่อที่ผู้รายงานและผู้เรียนผลิตขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ตามความรู้พื้นฐานและบริบทของผู้เรียน ได้แก่
·     สื่อนำเสนอ Power Point   เรื่อง  English Project Work, Tenses, 
·     หนังสืออิเลกทรอนิกส์ E-book  เรื่อง  Oral Expressions, Parts of Speech
·     สื่อจากอินเตอร์เน็ต  เรื่อง  Entertainment,  ASEAN Emblem,  ASEAN Community
·    เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ  เรื่อง  Oral Expressions, My Name, My Personal Information,  My Family, My Appearance, My Home  Town
·     ชุดการสอนภาษาอังกฤษ  เรื่อง  Important Places in Doi Tao  
-      แบบฝึก เรื่อง “ประชาคมอาเซียน”

.๕ ใช้เครื่องมือประเมินผลเหมาะสม
ผู้รายงานผ่านการอบรมการจัดทำเครื่องมือวัดผล ประเมินของสถาบันการทดสอบทาง
การศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และได้ศึกษาการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล และจัดทำแบบประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) กำหนดระดับคุณภาพผู้เรียนเพื่อใช้ประเมินชิ้นงาน โดยใช้ ใบงาน/ชิ้นงาน  และสามารถเก็บในแฟ้มสะสม งาน (Portfolio) ทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งแบบประเมินการเขียน  การฟัง  การพูด การอ่าน  การวัดความรู้ของผู้เรียน เช่น แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน  แบบทดสอบกลางภาคเรียน  แบบทดสอบปลายภาค แบบทดสอบหน่วยการเรียนรู้ เป็นต้น




Monday, January 16, 2017

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ระดับชาติ ครูพัชรินทร์ กันวะนา (ตอน ๒)

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ระดับชาติ 
ครูพัชรินทร์  กันวะนา  (ตอน ๒)

ารประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่ ๑ คุณลักษณะของครูและการจัดการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัดที่ ๒ การวางแผนการจัดการเรียนรู้
                   ๒.๑ วิเคราะห์ผู้เรียน
                   ผู้รายงานได้วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลด้วยการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ข้อมูลเบื้องต้นของผู้เรียน เพื่อให้เข้าใจสภาพผลสำเร็จและปัญหาของผู้เรียน หาแนวทางปรับปรุงและพัฒนา ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามสภาพจริงมากขึ้นได้ จึงได้ศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (CAR๑) การวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน    มีเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้  
๑) กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  
๒)  ระเบียนสะสม  
๓)  ปพ.๕ และ ปพ.๖  
๔)  แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ)  
๕)  แบบประเมินวุฒิภาวะทางอารมณ์  
๖)  บันทึกการเยี่ยมบ้านผู้เรียน  
๗)  แบบบันทึกข้อมูล CAR๑A, CAR๑B, CAR๑C, CAR๑D


                  ๒.๒ วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา
             ผู้รายงานได้วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีการประเมินผลการใช้หลักสูตร และปรับปรุงหลักสูตรต่อไป  แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
๑.  ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
๒.  จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖  รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว  วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และวิชาอาเซียนศึกษา  โดยการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ประกอบด้วยรหัสวิชาชื่อรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้น เวลาเรียน/หน่วยกิต คำอธิบายรายวิชา มาตรฐานตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้
๓.  จัดทำโครงสร้างรายวิชา  เพื่อให้ทราบว่ารายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้เวลาในการจัดการเรียนการสอน สัดส่วนการเก็บคะแนน
๔.  จัดทำหน่วยการเรียนรู้ การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หลักฐานการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้
๕.  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  ให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ เหมาะสมกับเวลาและการพัฒนาผู้เรียน
สรุปได้ว่า  หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม             มีแนวทางการจัดทำโดยการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง มีคำอธิบายรายวิชา มาตรฐาน ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ โครงการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้สู่การพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

                 ๒.๓ วิเคราะห์ความพร้อมของสื่ออุปกรณ์
ผู้รายงานดูแลความเรียบร้อยของห้องเรียน โดยการจัดทำบันทึกการสำรวจความพร้อมของ สื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์ประกอบการสอน เครื่องอำนวยความสะดวกในห้องเรียน เช่น พัดลม ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์  โปรเจคเตอร์ อินเตอร์เน็ต ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้ามาใช้งาน สามารถใช้ งานได้อย่างต่อเนื่อง และเมื่อชำรุด หรือเสียหายที่อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน ก็สามารถซ่อมแซม ปรับปรุงได้ทันเวลา

                 ๒.๔ ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นบูรณาการ
ผู้รายงานจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร และออกแบบหน่วยการเรียนรู้ มีการบูรณาการตามหลักสูตร เน้นบูรณาการในสารการเรียนรู้ ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษในแต่ละหน่วยการเรียนรู้  รวมทั้งบูรณาการเนื้อหา สาระร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปะ เป็นต้น

                  ๒.๕ ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้รายงานได้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน เป็นเวลา ๒๑ ปี และวิชาอาเซียนศึกษา วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เป็นเวลา ๔  ปี เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน  ได้ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามแนวทางของ Backward Design โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิด  โดยผู้สอนจะต้อง เปลี่ยนบทบาทเป็นผู้จัดบรรยากาศเชิงบวก  สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนต้องการเรียนรู้  ฝึกกรบวนการคิด วิเคราะห์  ลงมือปฏิบัติ เรียนรู้ร่วมกับเจ้าของภาษา เป็นความรู้ฝังแน่น แล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
จากประสบการณ์สอนของผู้รายงาน พบว่าผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน เนื่องจากอำเภอดอยเต่าอยู่ห่างจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ ๑๓๕ กิโลเมตร ระยะทางค่อนข้างไกล สถานที่ท่องเที่ยวมีจำนวนน้อย ชาวต่างประเทศไม่นิยมมาท่องเที่ยว อีกทั้งผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ใช้ภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร  และจากการสำรวจความต้องการของนักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ดังนี้
·    รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา  อ ๒๑๑๐๑  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แผนการเรียนรู้ที่ ๑  หน่วยที่ ๑  My Name                            จำนวน ๑๒  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๒  หน่วยที่ ๒ My Personal  Information          จำนวน ๑๒  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๓  หน่วยที่ ๓  My Family                            จำนวน ๑๒  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๔  หน่วยที่ ๔  My Appearance                     จำนวน ๑๒  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๕  หน่วยที่  ๕ My Home Town                    จำนวน ๑๒  ชั่วโมง 
               กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  ได้แก่  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ
·   รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา อ ๓๓๑๐๑  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
แผนการเรียนรู้ที่ ๑  หน่วยที่ ๑  Oral Expressions จำนวน ๑๔  ชั่วโมง  กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ และฝึกทักษะภาษาอังกฤษการแสดงละคร โดยการให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในกลุ่ม จัดทำบทละคร แสดงละครด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดทำ
แผนการเรียนรู้ที่ ๒  หน่วยที่ ๒ English Project Work จำนวน ๑๔  ชั่วโมง  กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  เรียนรู้ภาษาด้วยโครงงานภาษาอังกฤษแล้วนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ
แผนการเรียนรู้ที่ ๓  หน่วยที่ ๓  English Grammar for O-Net จำนวน ๑๒  ชั่วโมง  กิจกรรมที่ใช้ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ และฝึกทำข้อสอบเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบO-Net
 ·          รายวิชาอาเซียนศึกษา (ASEAN Studies)  สาระเพิ่มเติม  รหัสวิชา  อ ๒๐๒๐๓  
แผนการเรียนรู้ที่ ๑  หน่วยที่ ๑  Introduction to ASEAN             จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๒  หน่วยที่ ๒ ASEAN Members                     จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๓  หน่วยที่ ๓  Countries in ASEAN                 จำนวน ๘  ชั่วโมง 
 กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน
และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอและฝึกทักษะการเขียนบรรยายเรื่องจากภาพ คำถาม การเขียนตามคำบอก (Dictation)  การคัดลอก (Copying) การเลียนแบบ (Reproduction) การเขียนประโยคเอง (Recombination) การเขียนจากสิ่งที่กำหนดให้ (Guided writing)
              รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สาระเพิ่มเติม  รหัสวิชา  อ ๓๐๒๒๙  
แผนการเรียนรู้ที่ ๑  หน่วยที่ ๑ Basic English for Tourists เรื่อง English for Daily life  จำนวน ๑๐  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๒  หน่วยที่ ๑ Basic English for Tourists เรื่อง  Easy Self Introduction จำนวน ๑๐  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๓  หน่วยที่ ๒  Introduction to ASEAN                       จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๔  หน่วยที่ ๒ ASEAN Members                               จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๕  หน่วยที่ ๒  Countries in ASEAN                          จำนวน ๘  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๖  หน่วยที่ ๓  Tourist Attraction in My Hometown     จำนวน ๒๐  ชั่วโมง 
     กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน
และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอและฝึกทักษะการเขียนบรรยายเรื่องจากภาพ คำถาม การเขียนตามคำบอก (Dictation)  การคัดลอก (Copying) การเลียนแบบ (Reproduction) การเขียนประโยคเอง (Recombination) การเขียนจากสิ่งที่กำหนดให้ (Guided writing)
              รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  สาระเพิ่มเติม  รหัสวิชา  อ ๒๐๒๐๕  
แผนการเรียนรู้ที่ ๑  หน่วยที่ ๑  Introduction to ASEAN                       จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๒  หน่วยที่ ๒ ASEAN Members                              จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๓  หน่วยที่ ๓  Countries in ASEAN                          จำนวน ๘  ชั่วโมง 
        กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน
และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ



รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ระดับชาติ ครูพัชรินทร์ กันวะนา (ตอน ๑)

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ระดับชาติ 
ครูพัชรินทร์  กันวะนา  (ตอน ๑)

การประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่ ๑ คุณลักษณะของครูและการจัดการเรียนรู้
          ตัวชี้วัดที่ ๑ คุณลักษณะของครู
                   .๑ ครูมีลักษณะประชาธิปไตย
                   ผู้รายงานมีลักษณะประชาธิปไตย โดยปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์และคนอื่น ๆ เน้นให้นักเรียนเคารพซึ่งกันและกัน ทั้งทางกาย วาจา เคารพในสิทธิของผู้อื่นและเคารพต่อกฎ ระเบียบของสังคม วัฒนธรรม และประเพณี ปลูกฝังให้นักเรียนความสามัคคี กลมเกลียวกัน โดยนำกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการทำงานร่วมกัน คิดร่วมกัน อยู่ร่วมกัน ส่งเสริมให้เด็กใช้สติปัญญาในการดำเนินงานและแก้ปัญหา โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดง ความคิดเห็น พูดจาโต้ตอบด้วยเหตุผล  ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ เสียสละ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ เพื่อให้เกิดความรัก สามัคคีของชุมชนและท้องถิ่น ส่งผลให้ได้รับรางวัลครูดีในดวงใจ  จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๕  ปี ๒๕๕๒  รางวัลครูผู้ดูแลระบบช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น  จากเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๔ ปี ๒๕๕๖-๗  รางวัลเพชรล้านนา๓๔ ตามโครงการครูมืออาชีพ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ และ รับรางวัลครูดีไม่มีอบายมุข  จากเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๔ ปี ๒๕๕๗ 



          .๒ ครูใช้เทคนิค และทักษะการสอนเหมาะสม
           การสอนครูต้องใช้เทคนิคและทักษะการสอนที่สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและบทเรียน 
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ เจตคติ และทักษะตามที่หลักสูตร ผู้รายงานจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิค ดังนี้
๑. ตอบสนองพฤติกรรมของผู้เรียนโดยใช้เทคนิคการเสริมแรงที่เหมาะสม เช่น ใช้วาจา ใช้ ท่าทาง ให้รางวัล และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตลอดจนให้ทำกิจกรรมที่ผู้เรียนชอบ ครูควรเริมแรงให้ทั่วถึงและเหมาะสม
๒. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน แสดง ให้ผู้เรียนเห็นว่าความคิดของเขามีประโยชน์ พยายามนำความคิดเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้
๓. ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การให้ทำงานเป็นกลุ่มจะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ใช้ความรู้ความคิดความสามารถที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ฝึกการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ในการมอบหมายงาน ควรคำนึงถึงความยากง่ายของงาน ความรู้และ ความสามารถของผู้เรียนในกลุ่ม เพื่อให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จ เป็นการสร้างความรู้สึกทางบวกให้แก่ผู้เรียน งานใดที่ครูเห็นว่ายาก ครูควรเข้าไปดูแลกระตุ้นให้ผู้เรียนช่วยกันคิดแก้ปัญหาในกลุ่มของตน ฝึกให้ผู้เรียนใช้วิธีการหลาย ๆ แบบจนสามารถ แก้ปัญหาได้สำเร็จ

๔. ใช้เทคนิคและวิธีสอนที่หลากหลาย ครูควรคิดค้นคว้าและ แสวงหาแนวทางวิธีการใหม่ ๆ มาใช้จัดการเรียนการสอน วิธีการสอนควรเป็นวิธีที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ นักเรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรม เช่น วิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ ( Community Language Learning )  เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สิ่งที่นำมาเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การฝึกให้ ผู้เรียนใช้โครงสร้างประโยค คำศัพท์และเสียง ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การประเมินผลการเรียนนั้นจะเป็นการทดสอบแบบบูรณาการ โดยให้นักเรียนประเมินตนเองดูจากการเรียนรู้ของตนเอง และความก้าวหน้าของตน  รวมทั้งใช้วิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ( Communicative Approach ) ภาษาในการสื่อสารจากสถานการณ์จริง  สื่อสารกับเจ้าของภาษา จำลองเหตุการณ์  การแสดงบทบาทสมมุติ การแสดงละคร เป็นต้น  และวิธีการสอนแบบโครงการ ( Project Method ) เป็นวิธีที่สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือตามที่ครูมอบหมายให้ทำ ผู้เรียนจะดำเนินการอย่างอิสระ และมีอิสระในการใช้ภาษาอย่างเต็มที่  ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะช่วยเหลือและติดตามผลงานของผู้เรียนว่าดำเนินการ ความก้าวหน้า อุปสรรคการประเมินผลงาน  ตลอดจนนวัตกรรมการสอนที่น่าสนใจ เหมาะสมกับบทเรียน ระยะเวลา สติปัญญา และวัยของผู้เรียน

         .๓ ครูปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรมใช้ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ
ผู้รายงานได้ปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรม ยึดหลักประชาธิปไตย ใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ ยินดีปฏิบัติ โดยยึดหลักดังนี้
๑.      หลักประชาธิปไตย  ให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาคให้อิสระ 
ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
๒.      หลักความยุติธรรม ให้ความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง ส่งผลให้นักเรียนยินดี
ปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
๓.      หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
เป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียน
๔.  หลักความใกล้ชิด เอาใจใส่ สนใจ ใกล้ชิดกับนักเรียน ด้วยการกระทำดังนี้
๑) รู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคนเป็นต้นว่า
งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
๒) แสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความเป็นไปของ
พี่น้อง คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นด้วย
๓) สละเวลาของนอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิกเรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้คำปรึกษา คำแนะนำได้ตลอดเวลา
๔) ใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้องสอดคล้องกัน
เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม

๑.๔ ครูและนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ผู้รายงานมีความสัมพันธ์อันดีต่อนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ให้นักเรียนมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนไม่ตึงเครียด น่าเรียน น่าสอน แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ ผู้รายงานดำเนินการ ดังนี้
๑. เริ่มสร้างความสัมพันธ์ ยิ้ม ทักทายอย่างอบอุ่นเป็นกันเอง
๒. พูดทางบวกและทางลบอย่างสม่ำเสมอ
๓. สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างชัดเจน เป็นระบบ ใช้คำพูดที่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ น้ำเสียงอบอุ่น ยอมรับ เห็นใจ เข้าใจ ส่งเสริมให้นักเรียนคิดแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็น มีคำชมเมื่อนักเรียนทำงานได้ดี ทันเวลา มาเรียนสม่ำเสมอ เป็นต้น
สร้างข้อตกลง ระเบียบ กฎ กติกาในชั้นเรียนควบคุมดูแลการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
นอกจากนี้ได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน โดยผู้รายงานเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน ปกครองดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง              รู้ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล เยี่ยมบ้านนักเรียน และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน

.๕ ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อการพัฒนา
โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครอง ชุมชน โดยผ่านระบบเว็บไซต์โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม และได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเรียนละ ๒ ครั้ง และดำเนินการประชุมผู้ปกครองนักเรียนภาคเรียนละ ๑ ครั้ง และมีการประชุมชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง โดยได้มีการเลือก ประธาน รองประธาน และเลขานุการ เพื่อประสานงาน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (ผู้รายงานเป็นตัวแทนครูในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน)