Monday, January 16, 2017

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ระดับชาติ ครูพัชรินทร์ กันวะนา (ตอน ๒)

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ระดับชาติ 
ครูพัชรินทร์  กันวะนา  (ตอน ๒)

ารประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่ ๑ คุณลักษณะของครูและการจัดการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัดที่ ๒ การวางแผนการจัดการเรียนรู้
                   ๒.๑ วิเคราะห์ผู้เรียน
                   ผู้รายงานได้วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลด้วยการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ข้อมูลเบื้องต้นของผู้เรียน เพื่อให้เข้าใจสภาพผลสำเร็จและปัญหาของผู้เรียน หาแนวทางปรับปรุงและพัฒนา ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามสภาพจริงมากขึ้นได้ จึงได้ศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (CAR๑) การวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน    มีเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้  
๑) กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  
๒)  ระเบียนสะสม  
๓)  ปพ.๕ และ ปพ.๖  
๔)  แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ)  
๕)  แบบประเมินวุฒิภาวะทางอารมณ์  
๖)  บันทึกการเยี่ยมบ้านผู้เรียน  
๗)  แบบบันทึกข้อมูล CAR๑A, CAR๑B, CAR๑C, CAR๑D


                  ๒.๒ วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา
             ผู้รายงานได้วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีการประเมินผลการใช้หลักสูตร และปรับปรุงหลักสูตรต่อไป  แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
๑.  ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
๒.  จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖  รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว  วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และวิชาอาเซียนศึกษา  โดยการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ประกอบด้วยรหัสวิชาชื่อรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้น เวลาเรียน/หน่วยกิต คำอธิบายรายวิชา มาตรฐานตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้
๓.  จัดทำโครงสร้างรายวิชา  เพื่อให้ทราบว่ารายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้เวลาในการจัดการเรียนการสอน สัดส่วนการเก็บคะแนน
๔.  จัดทำหน่วยการเรียนรู้ การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หลักฐานการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้
๕.  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  ให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ เหมาะสมกับเวลาและการพัฒนาผู้เรียน
สรุปได้ว่า  หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม             มีแนวทางการจัดทำโดยการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง มีคำอธิบายรายวิชา มาตรฐาน ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ โครงการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้สู่การพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

                 ๒.๓ วิเคราะห์ความพร้อมของสื่ออุปกรณ์
ผู้รายงานดูแลความเรียบร้อยของห้องเรียน โดยการจัดทำบันทึกการสำรวจความพร้อมของ สื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์ประกอบการสอน เครื่องอำนวยความสะดวกในห้องเรียน เช่น พัดลม ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์  โปรเจคเตอร์ อินเตอร์เน็ต ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้ามาใช้งาน สามารถใช้ งานได้อย่างต่อเนื่อง และเมื่อชำรุด หรือเสียหายที่อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน ก็สามารถซ่อมแซม ปรับปรุงได้ทันเวลา

                 ๒.๔ ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นบูรณาการ
ผู้รายงานจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร และออกแบบหน่วยการเรียนรู้ มีการบูรณาการตามหลักสูตร เน้นบูรณาการในสารการเรียนรู้ ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษในแต่ละหน่วยการเรียนรู้  รวมทั้งบูรณาการเนื้อหา สาระร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปะ เป็นต้น

                  ๒.๕ ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้รายงานได้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน เป็นเวลา ๒๑ ปี และวิชาอาเซียนศึกษา วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เป็นเวลา ๔  ปี เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน  ได้ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามแนวทางของ Backward Design โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิด  โดยผู้สอนจะต้อง เปลี่ยนบทบาทเป็นผู้จัดบรรยากาศเชิงบวก  สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนต้องการเรียนรู้  ฝึกกรบวนการคิด วิเคราะห์  ลงมือปฏิบัติ เรียนรู้ร่วมกับเจ้าของภาษา เป็นความรู้ฝังแน่น แล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
จากประสบการณ์สอนของผู้รายงาน พบว่าผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน เนื่องจากอำเภอดอยเต่าอยู่ห่างจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ ๑๓๕ กิโลเมตร ระยะทางค่อนข้างไกล สถานที่ท่องเที่ยวมีจำนวนน้อย ชาวต่างประเทศไม่นิยมมาท่องเที่ยว อีกทั้งผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ใช้ภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร  และจากการสำรวจความต้องการของนักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ดังนี้
·    รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา  อ ๒๑๑๐๑  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แผนการเรียนรู้ที่ ๑  หน่วยที่ ๑  My Name                            จำนวน ๑๒  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๒  หน่วยที่ ๒ My Personal  Information          จำนวน ๑๒  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๓  หน่วยที่ ๓  My Family                            จำนวน ๑๒  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๔  หน่วยที่ ๔  My Appearance                     จำนวน ๑๒  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๕  หน่วยที่  ๕ My Home Town                    จำนวน ๑๒  ชั่วโมง 
               กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  ได้แก่  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ
·   รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา อ ๓๓๑๐๑  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
แผนการเรียนรู้ที่ ๑  หน่วยที่ ๑  Oral Expressions จำนวน ๑๔  ชั่วโมง  กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ และฝึกทักษะภาษาอังกฤษการแสดงละคร โดยการให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในกลุ่ม จัดทำบทละคร แสดงละครด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดทำ
แผนการเรียนรู้ที่ ๒  หน่วยที่ ๒ English Project Work จำนวน ๑๔  ชั่วโมง  กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  เรียนรู้ภาษาด้วยโครงงานภาษาอังกฤษแล้วนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ
แผนการเรียนรู้ที่ ๓  หน่วยที่ ๓  English Grammar for O-Net จำนวน ๑๒  ชั่วโมง  กิจกรรมที่ใช้ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ และฝึกทำข้อสอบเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบO-Net
 ·          รายวิชาอาเซียนศึกษา (ASEAN Studies)  สาระเพิ่มเติม  รหัสวิชา  อ ๒๐๒๐๓  
แผนการเรียนรู้ที่ ๑  หน่วยที่ ๑  Introduction to ASEAN             จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๒  หน่วยที่ ๒ ASEAN Members                     จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๓  หน่วยที่ ๓  Countries in ASEAN                 จำนวน ๘  ชั่วโมง 
 กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน
และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอและฝึกทักษะการเขียนบรรยายเรื่องจากภาพ คำถาม การเขียนตามคำบอก (Dictation)  การคัดลอก (Copying) การเลียนแบบ (Reproduction) การเขียนประโยคเอง (Recombination) การเขียนจากสิ่งที่กำหนดให้ (Guided writing)
              รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สาระเพิ่มเติม  รหัสวิชา  อ ๓๐๒๒๙  
แผนการเรียนรู้ที่ ๑  หน่วยที่ ๑ Basic English for Tourists เรื่อง English for Daily life  จำนวน ๑๐  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๒  หน่วยที่ ๑ Basic English for Tourists เรื่อง  Easy Self Introduction จำนวน ๑๐  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๓  หน่วยที่ ๒  Introduction to ASEAN                       จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๔  หน่วยที่ ๒ ASEAN Members                               จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๕  หน่วยที่ ๒  Countries in ASEAN                          จำนวน ๘  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๖  หน่วยที่ ๓  Tourist Attraction in My Hometown     จำนวน ๒๐  ชั่วโมง 
     กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน
และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอและฝึกทักษะการเขียนบรรยายเรื่องจากภาพ คำถาม การเขียนตามคำบอก (Dictation)  การคัดลอก (Copying) การเลียนแบบ (Reproduction) การเขียนประโยคเอง (Recombination) การเขียนจากสิ่งที่กำหนดให้ (Guided writing)
              รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  สาระเพิ่มเติม  รหัสวิชา  อ ๒๐๒๐๕  
แผนการเรียนรู้ที่ ๑  หน่วยที่ ๑  Introduction to ASEAN                       จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๒  หน่วยที่ ๒ ASEAN Members                              จำนวน ๖  ชั่วโมง 
แผนการเรียนรู้ที่ ๓  หน่วยที่ ๓  Countries in ASEAN                          จำนวน ๘  ชั่วโมง 
        กิจกรรมที่ใช้ได้แก่  ฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียน ทั้งครูและนักเรียน
และการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแล้วนำเสนอด้วยเทคโนโลยี โดยให้มีภาพ พร้อมบันทึกเสียงของนักเรียนในการนำเสนอ



No comments:

Post a Comment