รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ระดับชาติ
ครูพัชรินทร์ กันวะนา (ตอน ๑)
การประเมินตัวชี้วัดเฉพาะ
องค์ประกอบที่
๑ คุณลักษณะของครูและการจัดการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ ๑ คุณลักษณะของครู
๑.๑
ครูมีลักษณะประชาธิปไตย
ผู้รายงานมีลักษณะประชาธิปไตย
โดยปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์และคนอื่น
ๆ เน้นให้นักเรียนเคารพซึ่งกันและกัน ทั้งทางกาย วาจา
เคารพในสิทธิของผู้อื่นและเคารพต่อกฎ ระเบียบของสังคม วัฒนธรรม และประเพณี
ปลูกฝังให้นักเรียนความสามัคคี กลมเกลียวกัน โดยนำกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการทำงานร่วมกัน
คิดร่วมกัน อยู่ร่วมกัน ส่งเสริมให้เด็กใช้สติปัญญาในการดำเนินงานและแก้ปัญหา
โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดง ความคิดเห็น พูดจาโต้ตอบด้วยเหตุผล ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ เสียสละ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
เพื่อให้เกิดความรัก สามัคคีของชุมชนและท้องถิ่น
ส่งผลให้ได้รับรางวัลครูดีในดวงใจ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๕ ปี ๒๕๕๒ รางวัลครูผู้ดูแลระบบช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น จากเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๔
ปี ๒๕๕๖-๗ รางวัลเพชรล้านนา’
๓๔ ตามโครงการครูมืออาชีพ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ และ รับรางวัลครูดีไม่มีอบายมุข จากเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๔ ปี
๒๕๕๗
๑.๒
ครูใช้เทคนิค และทักษะการสอนเหมาะสม
การสอนครูต้องใช้เทคนิคและทักษะการสอนที่สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและบทเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้
เจตคติ และทักษะตามที่หลักสูตร ผู้รายงานจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิค ดังนี้
๑.
ตอบสนองพฤติกรรมของผู้เรียนโดยใช้เทคนิคการเสริมแรงที่เหมาะสม เช่น ใช้วาจา ใช้
ท่าทาง ให้รางวัล และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตลอดจนให้ทำกิจกรรมที่ผู้เรียนชอบ
ครูควรเริมแรงให้ทั่วถึงและเหมาะสม
๒.
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน แสดง ให้ผู้เรียนเห็นว่าความคิดของเขามีประโยชน์
พยายามนำความคิดเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้
๓.
ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การให้ทำงานเป็นกลุ่มจะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
ได้ใช้ความรู้ความคิดความสามารถที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
ฝึกการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ในการมอบหมายงาน ควรคำนึงถึงความยากง่ายของงาน
ความรู้และ ความสามารถของผู้เรียนในกลุ่ม เพื่อให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จ
เป็นการสร้างความรู้สึกทางบวกให้แก่ผู้เรียน งานใดที่ครูเห็นว่ายาก
ครูควรเข้าไปดูแลกระตุ้นให้ผู้เรียนช่วยกันคิดแก้ปัญหาในกลุ่มของตน ฝึกให้ผู้เรียนใช้วิธีการหลาย
ๆ แบบจนสามารถ แก้ปัญหาได้สำเร็จ
๔.
ใช้เทคนิคและวิธีสอนที่หลากหลาย ครูควรคิดค้นคว้าและ แสวงหาแนวทางวิธีการใหม่ ๆ
มาใช้จัดการเรียนการสอน วิธีการสอนควรเป็นวิธีที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ
นักเรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรม เช่น วิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์
( Community Language Learning ) เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
สิ่งที่นำมาเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การฝึกให้
ผู้เรียนใช้โครงสร้างประโยค คำศัพท์และเสียง
ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การประเมินผลการเรียนนั้นจะเป็นการทดสอบแบบบูรณาการ
โดยให้นักเรียนประเมินตนเองดูจากการเรียนรู้ของตนเอง และความก้าวหน้าของตน รวมทั้งใช้วิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
( Communicative Approach ) ภาษาในการสื่อสารจากสถานการณ์จริง สื่อสารกับเจ้าของภาษา จำลองเหตุการณ์ การแสดงบทบาทสมมุติ การแสดงละคร เป็นต้น และวิธีการสอนแบบโครงการ
( Project Method ) เป็นวิธีที่สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ
หรือตามที่ครูมอบหมายให้ทำ ผู้เรียนจะดำเนินการอย่างอิสระ
และมีอิสระในการใช้ภาษาอย่างเต็มที่
ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะช่วยเหลือและติดตามผลงานของผู้เรียนว่าดำเนินการ
ความก้าวหน้า อุปสรรคการประเมินผลงาน ตลอดจนนวัตกรรมการสอนที่น่าสนใจ
เหมาะสมกับบทเรียน ระยะเวลา สติปัญญา และวัยของผู้เรียน
๑.๓
ครูปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรมใช้ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ
ผู้รายงานได้ปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรม
ยึดหลักประชาธิปไตย ใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ ยินดีปฏิบัติ โดยยึดหลักดังนี้
๑.
หลักประชาธิปไตย ให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน
ให้ความเสมอภาคให้อิสระ
ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น
ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่
รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
๒.
หลักความยุติธรรม ให้ความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง
ส่งผลให้นักเรียนยินดี
ปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู
ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
๓.
หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง
ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร
คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง
ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง
ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
เป็นการปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรม ให้แก่นักเรียน
๔. หลักความใกล้ชิด เอาใจใส่ สนใจ
ใกล้ชิดกับนักเรียน ด้วยการกระทำดังนี้
๑) รู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน
รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคนเป็นต้นว่า
งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน
จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
๒) แสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน
เช่น หมั่นถามความเป็นไปของ
พี่น้อง คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นด้วย
๓) สละเวลาของนอกเหนือจากงานสอน
ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิกเรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน
เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้คำปรึกษา คำแนะนำได้ตลอดเวลา
๔) ใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ
คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้องสอดคล้องกัน
เป็นต้นว่า
ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์
ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น
การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม
๑.๔ ครูและนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ผู้รายงานมีความสัมพันธ์อันดีต่อนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม
ให้นักเรียนมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนไม่ตึงเครียด
น่าเรียน น่าสอน แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ ผู้รายงานดำเนินการ ดังนี้
๑. เริ่มสร้างความสัมพันธ์
ยิ้ม ทักทายอย่างอบอุ่นเป็นกันเอง
๒. พูดทางบวกและทางลบอย่างสม่ำเสมอ
๓. สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างชัดเจน
เป็นระบบ ใช้คำพูดที่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ น้ำเสียงอบอุ่น ยอมรับ เห็นใจ
เข้าใจ ส่งเสริมให้นักเรียนคิดแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็น มีคำชมเมื่อนักเรียนทำงานได้ดี
ทันเวลา มาเรียนสม่ำเสมอ เป็นต้น
๔. สร้างข้อตกลง ระเบียบ กฎ กติกาในชั้นเรียนควบคุมดูแลการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
นอกจากนี้ได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน โดยผู้รายงานเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน
ปกครองดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง รู้ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล
เยี่ยมบ้านนักเรียน และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน
๑.๕
ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อการพัฒนา
โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม
ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
และรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครอง ชุมชน โดยผ่านระบบเว็บไซต์โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม
และได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเรียนละ ๒ ครั้ง และดำเนินการประชุมผู้ปกครองนักเรียนภาคเรียนละ
๑ ครั้ง และมีการประชุมชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม ภาคเรียนละ ๑
ครั้ง โดยได้มีการเลือก ประธาน รองประธาน และเลขานุการ เพื่อประสานงาน
และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (ผู้รายงานเป็นตัวแทนครูในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน)
No comments:
Post a Comment